Manushya Foundation
🇹🇭 รายงานล่าสุดโดยมานุษยะ ร่วมกับ Freedom House: เสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตในไทยยังตกอยู่ในอันตราย!


จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ประเทศที่มีคะแนนลดลงมากที่สุดได้แก่ รัสเซีย (-7) เมียนมา (-5) ซูดาน (-4) และลิเบีย (-4) หลังรัสเซียยกกองกำลังทหารบุกยูเครนและสร้างความเสียหายอย่างหนัก รัฐบาลของรัสเซียได้เพิ่มความพยายามอย่างต่อเนื่องในการปราบปรามความคิดเห็นที่แตกต่างในประเทศ และสั่งปิดหรือเนรเทศสื่ออิสระในประเทศที่ยังเหลืออยู่อย่างรวดเร็ว ส่วนเมียนมากลายเป็นประเทศที่พื้นที่ออนไลน์เป็นปฏิปักษ์ต่อสิทธิมนุษยชนมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก รองจากจีนเพียงประเทศเดียว ตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อปี 2564 รัฐบาลเผด็จการทหารได้จัดตั้งระบบอินทราเน็ตภายในประเทศเพื่อช่วยในการปิดปากฝ่ายต่อต้านการปฏิวัติ และส่งเสริมอำนาจในการปกครองให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
แม้ภาพรวมของสถานการณ์ทั่วโลกจะถดถอย แต่รายงานนี้เผยถึงความก้าวหน้าของเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตที่สำคัญจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นผลจากทำงานอย่างไม่ย่อท้อของนักเคลื่อนไหวภาคประชาสังคม กลุ่มสื่อ และนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยตัวเลขระบุว่าปีนี้ 26 มีเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้น




สถิติที่น่าสนใจจากทั่วโลก
เสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตทั่วโลกลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 12 ประเทศที่มีคะแนนลดลงมากที่สุดจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน คือรัสเซีย (-7) เมียนมา (-5) ซูดาน (-4) และลิเบีย (-4) หลังจากการบุกโจมตียูเครนอย่างรุนแรงของกองทัพรัสเซีย รัฐบาลของรัสเซียได้เพิ่มความพยายามอย่างต่อเนื่องในการปราบปรามความคิดเห็นที่แตกต่างในประเทศ และสั่งปิดหรือเนรเทศสื่ออิสระในประเทศที่ยังเหลืออยู่อย่างรวดเร็ว ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในอย่างน้อย 53 ประเทศต้องเผชิญกับผลกระทบทางกฎหมายจากการแสดงความเห็นทางออนไลน์ ซึ่งมักนำไปสู่โทษจำคุกที่โหดร้ายรุนแรง
รัฐบาลกำลังทลายอินเทอร์เน็ตทั่วโลกให้ขาดความเชื่อมต่อซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างโลกออนไลน์ให้เป็นพื้นที่ที่กำกับควบคุมได้มากขึ้น รัฐบาลระดับชาติจำนวนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ได้ทำการปิดกั้นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาทางการเมือง สังคม หรือศาสนาที่ไม่รุนแรง ซึ่งลิดรอนสิทธิในการแสดงออกและการเข้าถึงข้อมูลอย่างเสรี โดยส่วนใหญ่แล้วการปิดกั้นการเข้าถึงเหล่านี้พุ่งเป้าไปยังแหล่งข้อมูลที่อยู่นอกประเทศ นอกจากนี้ กฎหมายระดับชาติใหม่ๆ หลายฉบับอาจขัดขวางการเผยแพร่ข้อมูลอย่างเสรีเพิ่มขึ้นอีกระดับ โดยการรวมโครงสร้างพื้นฐานทางเทคนิคไว้ที่ศูนย์กลาง และบังคับใช้กฎระเบียบที่มีข้อบกพร่องบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียและการจัดการข้อมูลของผู้ใช้
เสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตใน 26 ประเทศมีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้น ความก้าวหน้าสำคัญสองกรณีมีให้เห็นในประเทศแกมเบีย (+3) และซิมบับเว (+3) แม้ว่าสถานการณ์โดยรวมทั่วโลกจะถดถอย แต่องค์กรภาคประชาสังคมในหลายประเทศได้ร่วมมือกันทำงานเพื่อปรับปรุงกฎหมาย พัฒนาความแข็งแกร่งของสื่อ และผลักดันให้บริษัทเทคโนโลยีมีความรับผิดชอบ ซึ่งการต่อต้านการตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ประสบความสำเร็จจากการร่วมมือกันจะเป็นแนวทางให้การแก้ปัญหาอื่นๆ ต่อไปในอนาคต เช่น ปัญหาเรื่องสปายแวร์เชิงพาณิชย์
สิทธิมนุษยชนตกอยู่ในความไม่แน่นอน ท่ามกลางการแข่งขันเพื่อควบคุมเว็บ รัฐเผด็จการกำลังแข่งขันกันโฆษณาชวนเชื่อแบบแผนในการควบคุมพื้นที่ดิจิทัลในระดับนานาชาติ เพื่อเป็นการตอบโต้ กลุ่มพันธมิตรรัฐบาลประชาธิปไตยได้มีการเพิ่มการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ออนไลน์ผ่านประชุมพหุภาคี และเผยวิสัยทัศน์เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตที่เปิดกว้างและเสรี อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเหล่านี้ยังไม่ก้าวหน้าอย่างเต็มที่ เพราะแนวปฏิบัติด้านเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตบางประการในประเทศของตนเองยังคงมีปัญหาอยู่
ผลการศึกษาที่สำคัญของรายงานประเทศไทย
เมื่อเดือนพฤษจิกายนปี 2564 มีการประกาศควบรวมกิจการของผู้ให้บริการโทรศัพท์ TRUE-DTAC (Total Communication Access) ซึ่งอาจนำไปสู่ความน่ากังวลในด้านราคาของบริการ อย่างไรก็ดี หน่วยงานควบคุมการสื่อสารโทรคมนาคมชี้ว่าอาจไม่มีอำนาจในการตรวจสอบการควบรวมนี้
เจ้าหน้าที่รัฐพยายามจำกัดการเข้าถึงเนื้อหาที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล รวมถึงบล็อกเว็บไซต์ที่ระดมกำลังสนับสนุนการยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในปี 2565
ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเมื่อเดือนพฤษจิกายนปี 2564 ว่าการปราศัยเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์นับเป็นความพยายามล้มล้างการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งส่งผลกระทบต่อการแสดงออกในพื้นที่ออนไลน์
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตถูกจับกุมตัวและดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับข้อความเรียกร้องการปฏิรูปรัฐบาล โดยในช่วงเก็บข้อมูลของรายงานนี้ รัฐตัดสินจำคุกนักเคลื่อนไหวคนหนึ่งเป็นเวลา 6 ปีจากข้อความที่เผยแพร่ผ่านทางเฟซบุ๊ก แต่ไม่มีการตัดสินจำคุกที่ยาวนานเป็นเวลาหลายทศวรรษเหมือนกับช่วงเก็บข้อมูลของรายงานปีที่แล้ว
จากรายงานหนึ่ง เผยแพร่เมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2565 มีความเป็นไปได้ว่ารัฐบาลไทยใช้สปายแวร์สอดแนมนักเคลื่อนไหวประชาธิปไตย นักวิจัย และนักการเมืองฝ่ายค้าน
ไม่มีการรายงานการกระทำความรุนแรงทางร่างกายที่เป็นผลจากการแสดงออกในพื้นที่ออนไลน์ แต่การข่มขู่ที่อยู่นอกเหนือกฎหมาย การคุกคามออนไลน์ และการสืบและเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของนักเคลื่อนไหวประชาธิปไตยและผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ยังคงมีให้เห็นอยู่






สำหรับสื่อมวลชน ติดต่อได้ที่:
เอมิลี่ ประดิจิตร ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการมูลนิธิมานุษยะและหนึ่งในผู้เขียนรายงาน Freedom on the Net: Thailand Country Report ทาง Twitter @EmiliePradichit หรือ emilie@manushyafoundation.org
แอลลี่ ฟังก์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านเทคโนโลยีและประชาธิปไตยของ Freedom House และหนึ่งในผู้เขียนร่วม Freedom on the Net 2022 ทางTwitter @alfunk หรือ Funk@freedomhouse.org