Manushya Foundation
#วันยุติการขริบอวัยวะเพศหญิงสากล: หยุดการขริบอวัยวะเพศหญิง
#วันยุติการขริบอวัยวะเพศหญิงสากล 👩🏻🚫 200 ล้านคนใน 30 ประเทศในแถบแอฟริกา ตะวันออกกลาง เอเชีย และละตินอเมริกา …นี่คือตัวเลขของผู้หญิงที่ถูกละเมิดสิทธิเพราะ ‘การขริบอวัยวะเพศหญิง’ (Female Genital Mutilation)
🩸การขริบอวัยวะเพศหญิงถูกนิยามไว้ว่าเป็น “วิธีการทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงหรือทำให้อวัยวะเพศหญิงได้รับบาดเจ็บโดยไม่เกี่ยวกับเหตุผลทางการแพทย์” การขริบอวัยวะเพศหญิงเกิดจากแนวคิดกดทับทางเพศที่ฝังลึกอยู่ในระบบ โดยกลุ่มที่สนับสนุนการขริบอวัยวะเพศหญิงเชื่อกันว่าธรรมเนียมนี้มีความจำเป็นหลายประการด้วยกัน เช่น เป็นการเปลี่ยนผ่านสู่วัยผู้ใหญ่ ความเชื่อทางศาสนา เพื่อบังคับให้รักษาความบริสุทธิ์ก่อนแต่งงาน หรือมีประโยชน์เรื่องสุขอนามัย (ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด)ในหลายชุมชน ถ้าเด็กผู้หญิงคนไหนยังไม่ขริบ อาจถูกตีตราว่าไม่แข็งแรง ไม่สะอาด หรือไม่คู่ควรกับใคร
🚨🏥แล้วทำไมเราต้องหยุดการขริบอวัยเพศหญิง? ก็เพราะธรรมเนียมนี้มีการยืนยันแล้วว่าเป็นอันตรายต่ออวัยวะเพศหญิง และมีแนวโน้มส่งผลเสียระยะยาวต่อระบบสืบพันธุ์ได้ อีกทั้งหากเกิดการติดเชื้อหรือเลือดไหลออกเป็นจำนวนมาก อาจเสี่ยงถึงชีวิต ส่วนใหญ่ เด็กผู้หญิงจะถูกบังคับให้ขริบตั้งแต่แรกเกิด จนถึงอายุ 15 และไม่สามารถปฏิเสธได้
📣 ทั่วโลกตระหนักแล้วว่าการขริบอวัยเพศหญิงเป็นความรุนแรงต่อผู้หญิงเพศอย่างหนึ่ง และเป็นการละเมิดสิทธิด้านสุขภาพ สิทธิที่จะไม่ถูกทรมาน และสิทธิอื่นๆ จากการคาดการณ์โดย UN ถ้าเราไม่ร่วมมือกันหยุดการขริบอวัยวะเพศ ผู้หญิงอีก 15 ล้านคนอาจต้องเจ็บปวดจากธรรมเนียมที่กดขี่ทางเพศนี้
#WeAreManushyan ♾️ Equal Human Beings
✊ มูลนิธิมานุษยะประณามการความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศทุกรูปแบบ และขอเรียกร้องให้รัฐบาลที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับสุขภาพของผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากการขริบชนิดนี้ ในฐานะองค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนที่นำโดยผู้หญิงและยึดหลักเฟมินิสต์แบบอัตลักษณ์ทับซ้อนจากซีกโลกใต้ เรามุ่งทำงานเพื่อให้ผู้หญิงและเด็กผู้หญิง โดยเฉพาะกลุ่มคนชายขอบ สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเสรีและเท่าเทียม
👉🏻 คุณเองก็สามารถมีส่วนช่วยหยุดการขริบอวัยวะเพศหญิงได้โดยการพูดถึงเรื่องนี้ให้สังคมได้รับรู้ และต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิงที่คุณพบเจอในชีวิตประจำวัน
อ้างอิง
WHO, Female genital mutilation, (31 มกราคม 2565), อ่านได้ที่: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/female-genital-mutilation#:~:text=More%20than%20200%20million%20girls,rights%20of%20girls%20and%20women
BBC, What is FGM, where does it happen and why?, (6 กุมภาพันธ์ 2562), อ่านได้ที่: https://www.bbc.com/news/world-47131052
UN, International Day of Zero Tolerance for Female Genital Mutilation, 6 February, อ่านได้ที่: https://www.un.org/en/observances/female-genital-mutilation-day
Comentários