top of page
  • Writer's pictureManushya Foundation

อินเทอร์เน็ตไม่ใช่พื้นที่ที่ทุกคนเท่าเทียม!


#DigitalRights 📱ในฐานะที่เรายึดมั่นในหลักการเฟมินิสต์แบบอัตลักษณ์ทับซ้อน เราอยากเห็นอินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่ที่ทุกคนได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม เราจึงมุ่งมั่นสร้างความตระหนักเรื่องความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศในพื้นที่ออนไลน์ รวมถึงการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงและกลุ่ม LGBTIQ+ ความตั้งใจของมานุษยะคือการส่งเสริมสิทธิเท่าเทียมในพื้นที่ออนไลน์ เช่นเดียวกับในพื้นที่ออฟไลน์


นี่คือสถิติส่วนหนึ่ง ⤵️


📌 ผู้หญิงโดยรวมมีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะเจอกับความรุนแรงในโลกออนไลน์ แต่ผู้หญิงบางกลุ่มมีความเสี่ยงสูงเป็นพิเศษ เช่น นักกิจกรรม นักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักข่าว และนักการเมืองหญิง

❗85% ของผู้หญิงที่ในพื้นที่ออนไลน์เคยเห็นผู้หญิงคนอื่นต้องเผชิญความรุนแรงในโลกดิจิทัล

📍 งานวิจัยที่ครอบคลุมระยะเวลา 3 ปี และ 15 ประเทศ แสดงให้เห็นว่านักข่าวหญิงผิวดำ ชนพื้นเมือง ยิว อาหรับ เอเชีย และเลสเบี้ยน ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในโลกออนไลน์สูงที่สุดและรุนแรงที่สุด

💻 ความรุนแรงต่อผู้หญิงในพื้นที่ออนไลน์มีผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้หญิง สถิติชี้ว่า เกือบ 9 ใน 10 ของผู้หญิงจำกัดการใช้อินเทอร์เน็ตของตัวเอง ซึ่งส่งผลต่อการเข้าถึงงาน การศึกษา การดูแลสุขภาพ และการสร้างชุมชนกับผู้อื่น


🚩 GLAAD's Social Media Safety Index (SMSI) เป็นรายงานที่ประเมินความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว และการแสดงออกของกลุ่ม LGBTIQ+ บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ใหญ่ที่สุด 5 แพลตฟอร์ม (Facebook, Instagram, TikTok, Twitter, Youtube) โดยในปี 2022 GLAAD พบปัญหาดังนี้:

  • Instagram ไม่มีนโยบายที่จะปกป้องผู้ใช้ที่เป็นคนข้ามเพศงานจากการเรียกชื่อเก่า (deadnaming) หรือการเรียกผิดเพศ (misgendering)

  • YouTube ยังไม่มีความโปร่งใสมากเพียงพอเกี่ยวกับการระงับการสร้างรายได้ของครีเอเตอร์ที่เป็น LGBTIQ+ หรือเนื้อหาเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ แม้นักกิจกรรมจะทวงถามถึงปัญหานี้มาหลายครั้งแล้วก็ตาม

  • TikTok ไม่มีข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับการมีผู้กำหนดนโยบายที่เป็น LGBTIQ+ หรือมีการอบรมเพื่อให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับความต้องการของผู้ใช้ที่เป็น LGBTIQ+

ความรุนแรงบนโลกออนไลน์สะท้อนถึงความเชื่อและพฤติกรรมในสังคมเรา ถ้าผู้หญิงและกลุ่ม LGBTIQ+ ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันในชีวิตประจำวันในโลกออฟไลน์ ความรุนแรงบนโลกออนไลน์ก็จะไม่เกิดขึ้น

✊ มานุษยะขอยืนหยัดเคียงข้ามผู้หญิงและกลุ่ม LGBTIQ+ ทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในพื้นที่ออนไลน์ เราให้ความสำคัญกับสิทธิในพื้นที่ออนไลน์ และเราจะไม่หยุดการสนับสนุนการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน

#WeAreManushyan ♾️ Equal Human Beings

👉 ก่อนจะกดออก ชวนอ่านงานที่ผ่านมาเกี่ยวกับการส่งเสริมให้อินเทอร์เน็ตในอาเซียนเป็นพื้นที่ปลอดภัย และต่อต้านเผด็จการในโลกออนไลน์

  1. #StopDigitalDictatorship แคมเปญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  2. มานุษยะสนับสนุนสิทธิดิจิทัลอย่างไร?, 19 เมษายน 2566

  3. Freedom on the Net 2022: เสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตในไทยยังตกอยู่ในอันตราย 19 ตุลาคม 2565

  4. Joint Submission to the United Nations Special Rapporteur on the Promotion and Protection of the Right to Freedom of Opinion and Expression: Freedom, Independence, Diversity of Media and the Safety of Journalists in Southeast Asia, มกราคม 2565

  5. Joint Submission to the United Nations High Commissioner for Human Rights: Human Rights Due Diligence, Tech Sector Responsibilities and Business Transparency, กุมภาพันธ์ 2565

  6. Joint Submission to the United Nations High Commissioner for Human Rights ‘The Right to Privacy in the Digital Age: Mass surveillance, Digital Contact-tracing, Social Media Monitoring, and Data Requests in Southeast Asia’, มิถุนายน 2565.

  7. Thailand UPR III Factsheet on Digital Rights, 9 กันยายน 2564

  8. Thailand UPR III Joint Submission on Digital Rights to the 39th Session of the UPR Working Group: Digital Rights, 25 มีนาคม 2564

อ้างอิง

  1. UN Women, Accelerating Efforts to Tackle Online and Technology Facilitate Violence Against Women and Girls (VAWG), (2565), อ่านได้ที่: https://www.unwomen.org/en/digital-library/publications/2022/10/accelerating-efforts-to-tackle-online-and-technology-facilitated-violence-against-women-and-girls

  2. International Center for Journalists, The Chilling: A global study of online violence against women journalists, (2 พฤศจิกายน 2565), อ่านได้ที่: https://www.icfj.org/our-work/chilling-global-study-online-violence-against-women-journalists

  3. The Economist Intelligence Unit, Measuring the prevalence of online violence against women, (2564), อ่านได้ที่: https://onlineviolencewomen.eiu.com

  4. GLAAD, Social Media Safety Index, (2565), อ่านได้ที่: https://sites.google.com/glaad.org/smsi/platform-scores

Comments


bottom of page