Manushya Foundation
8 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับความเป็นธรรมด้านการแก้ปัญหาสภาพอากาศ
#ความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ ⚖️ รู้หรือไม่ว่าผู้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมักไม่ใช่ต้นตอผู้ก่อปัญหา?
🌳 ชนพื้นเมืองมีความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของพวกเขาและอาศัยทรัพยากรธรรมชาตินั้นเป็นแหล่งอาหารสำคัญ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่เพียงทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยและทำให้พวกเขาเสี่ยงอันตรายในการดำรงชีวิต แต่ยังขัดขวางความเชื่อมโยงของพวกเขากับสัตว์ป่า คุกคามวิถีชีวิตและการแบ่งปันความรู้ของพวกเขา ซึ่งนั่นอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตได้
♀ เนื่องจากระบบการเมืองที่รับผิดชอบต่อวิกฤตสภาพอากาศถูกครอบงำด้วยปิตาธิปไตย ผู้หญิงจึงต้องเผชิญกับผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มากกว่า การเลือกปฏิบัติทางเพศทำให้ผู้หญิงไม่มีอำนาจในกระบวนการการตัดสินใจ ทั้งที่ในหลายกรณีก็แสดงให้เห็นว่าเมื่อผู้หญิงเข้าถึงอำนาจได้อย่างเท่าเทียม พวกเขาตัดสินใจในวิธีการที่ยั่งยืนมากกว่า!
👉รัฐบาลต้องไม่เพียงดำเนินมาตรการเพื่อจัดการกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แต่ยังต้องทำให้แน่ใจว่ามาตรการเหล่านั้นไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ในความเป็นจริง ความพยายามหลายครั้งของรัฐบาลที่อ้างว่าเป็นการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสภาพอากาศมีพื้นฐานมาจากแนวคิดที่เลือกปฏิบัติ จึงทำให้ชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มคนชายขอบ เช่น ชนพื้นเมือง ถูกรัฐบาลไทยเอาเปรียบและกดขี่
#WeAreManushyan ♾ มนุษย์เท่าเทียมกัน
🌱 รัฐบาลและธุรกิจขนาดใหญ่ต้องรับผิดชอบและใช้แนวทางตามสิทธิในภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศ พวกเขาต้องดำเนินการเพื่อส่งเสริมสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ดีต่อสุขภาพ และยั่งยืน เนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals)!
✊🏻 มูลนิธิมานุษยะเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนผ่านที่ยุติธรรม เฟมินิสต์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และครอบคลุม เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยรับรองสิทธิมนุษยชนของทุกคนในการมีสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ดีต่อสุขภาพ และยั่งยืน ผู้คนและโลกต้องมาก่อนผลกำไร!
อย่าเพิ่งกดออก...
➡️ เรียนรู้เกี่ยวกับงานและความสำเร็จของมูลนิธิมานุษยะในประเด็นความเป็นธรรมด้านภูมิอากาศ:
ปี 2566 ต้องเป็นปีของ #การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ #การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม อย่างแท้จริง!, 4 มกราคม 2566
ทุกข้อควรรู้เกี่ยวกับ ข้อเรียกร้องหลักของพวกเราภายใต้ปฏิญญาภาคประชาชนเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม, 4 ธันวาคม 2565
ทุกข้อควรรู้เกี่ยวกับ #เราคือขบวนการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม, 28 พฤศจิกายน 2565
ข่าวประชาสัมพันธ์: ภาคี #เราคือขบวนการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม: ถึงเวลาของการเปลี่ยนผ่านที่เป็นสตรีนิยม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วม พร้อมกับการแก้ไขปัญหาด้านพลังงานที่มีประชาชนเป็นแกนนำ เพื่อยุติการฟอกเขียวและเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล! 24 พฤศจิกายน 2565
ปฏิญญาภาคประชาชนเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม เป็นสตรีนิยม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วม ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และผืนป่า, 18 พฤศจิกายน 2565
รับชมงานแถลงข่าวของภาคี #เราคือขบวนการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ในการประกาศปฏิญญาภาคประชาชน!, 18 พฤศจิกายน 2565
#Saveชาวบ้านซับหวาย: ดิจิตอลแคมเปญเพื่อสนับสนุนชาวบ้านของมูลนิธิมานุษยะ
ข่าวประชาสัมพันธ์: ประเทศไทย: หยุดการบังคับขับไล่ชาวบ้านซับหวาย 14 คน ที่เผชิญกับความยากจนข้นแค้นและไร้ที่อยู่อาศัย!, 5 สิงหาคม 2565
การร้องทุกข์ให้มีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน เพื่อคุ้มครองชาวบ้านซับหวาย 14 คน ที่กำลังเผชิญการละเมิดสิทธิมนุษยชน เนื่องจากการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ผิดพลาดของประเทศไทย, 4 สิงหาคม 2565
#FightRacism - ประเทศไทยคือสวรรคเฉพาะกับกลุ่มคนรวยเพียง 1% เท่านั้น: รายงานร่วมของภาคประชาสังคมเรื่องการบังคับใช้ ICERD: ตอบกลับประเด็นปัญหาระหว่างการประเมิน CERD ครั้งที่ 105 (15 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม), 25 ตุลาคม 2564
เอกสารข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนโยบายแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศที่ผิดพลาดของประเทศไทยด้วยกฎหมายอนุรักษ์ป่าไม้ที่ไม่ถูกต้อง สำหรับกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (UPR) รอบที่ 3 ของประเทศไทย, 13 กันยายน 2564
การเสนอร่วมต่อกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Universal Periodic Review: UPR): สิทธิเกี่ยวกับที่ดิน กฎหมายอนุรักษ์ป่าไม้ และนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, 25 มีนาคม 2564
ข่าวประชาสัมพันธ์: ประเทศไทย: หยุดการเอาผิดกับนักปกป้องสิทธิที่ดินอย่างไม่เป็นธรรมในอุทยานแห่งชาติไทรทอง, 19 มิถุนายน 2562
การยื่นเรื่องด่วนต่อ 7 ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติ: #Saveชาวบ้านซับหวาย จากการถูกจำคุก! การเอาผิดชาวบ้าน 14 รายอย่างไม่เป็นธรรมตามนโยบายทวงคืนผืนป่าของประเทศไทย, 23 มิถุนายน 2562
แถลงการณ์ร่วม: องค์กรสิทธิมนุษยชนเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยุติข้อกล่าวหาต่อนักปกป้องที่ดินและสิทธิมนุษยชนสตรีในชุมชนบ้านซับหวาย, 24 มิถุนายน 2562
ข่าวประชาสัมพันธ์: ประเทศไทย: ประกันว่าจะมีการอำนวยความยุติธรรมอย่างเป็นธรรมและการเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพแก่นักปกป้องสิทธิในที่ดินที่ถูกอาชญากรอย่างไม่เป็นธรรมในคดีอุทยานแห่งชาติไทรทอง, 8 กรกฎาคม 2562
การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในประเทศไทย: รายงานร่วมจากภาคประชาสังคม: รายการเรื่องที่ต้องพิจารณาโดยคณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ (CERD) สำหรับการทบทวนรายงานรวมที่สี่ถึงแปดของประเทศไทย (CERD/C/THA/4- 8), 2563
อ้างอิง:
องค์การสหประชาชาติ, A/77/549: Report of the Special Rapporteur on contemporary forms of racism, racial discrimination, xenophobia and related intolerance, E. Tendayi Achiume - Ecological crisis, climate justice and racial justice, (25 ตุลาคม 2565), อ่านที่: https://www.ohchr.org/en/documents/thematic-reports/a77549-report-special-rapporteur-contemporary-forms-racism-racial
องค์การสหประชาชาติ, A/77/284: The human right to a clean, healthy and sustainable environment: a catalyst for accelerated action to achieve the Sustainable Development Goals, (10 สิงหาคม 2565), อ่านที่: https://www.ohchr.org/en/documents/thematic-reports/a77284-human-right-clean-healthy-and-sustainable-environment-catalyst
องค์การสหประชาชาติ, Safe Climate: A Report of the Special Rapporteur on Human Rights and the Environment, (1 ตุลาคม 2562), อ่านที่: https://www.unep.org/resources/report/safe-climate-report-special-rapporteur-human-rights-and-environment
#JustTransition #ClimateJustice #OurPlanetOurHealth #IndigenousPeoples #Indigenous #environmentaljustice #thailand #whatshappeninginthailand #LetTheEarthBreathe #climateactionnow #ClimateEmergency #ClimateChange #ClimateChangeIsReal #HumanRights #PeopleOverProfit #PlanetOverProfit #CorporateAccountability #HumanRightsDefenders #LandRightsNow
Commentaires