Manushya Foundation
Gaysorn Village ต้องดำเนินการขั้นเด็ดขาดต่อบริษัทคู่ค้าที่ล่วงละเมิดทางเพศต่อพนักงานหญิงข้ามเพศ!
Gaysorn Village ต้องดำเนินการขั้นเด็ดขาดต่อบริษัทคู่ค้าที่ล่วงละเมิดทางเพศต่อพนักงานที่เป็นผู้หญิงข้ามเพศและต้องออกนโยบายและบังคับใช้ป้องกันและคุ้มครองการล่วงละเมิดและการคุกคามทางเพศในที่ทำงานอย่างเด็ดขาด
ขอเชิญร่วมกันลงชื่อเรียกร้อง Gaysorn Village ได้ที่ www.Change.org/Gaysorn #แชร์ไปให้โลกรู้ #Biz4HumanRights #ThaiBHRNetwork
นี่คือเรื่องราวของผู้หญิงข้ามเพศคนหนึ่ง เธอเป็นพนักงานฝ่ายทรัพยากรบุคคลของร้านนาฬิกาหรูตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้าระดับตำนานของประเทศอย่าง Gaysorn Village ถูกนายจ้างซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทล่วงละเมิดทางเพศต่อเธออย่างไม่เกรงกลัวกฎหมาย ซ้ำร้ายวันรุ่งขึ้นเขาเดินทางไปจดทะเบียนสมรสกับภรรยาสาวโดยทำเหมือนว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ถ้าเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับคุณ...คุณจะทำอย่างไร ภายใต้แคมเปญรณรงค์ครั้งนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องทำความเข้าใจว่า นี่คือปัญหาระดับโครงสร้างสังคมที่เชื่อมโยงใน 3 มิติ คือ 1. มนุษย์ทุกคน รวมถึงบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ มีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ร่างกายของบุคคลเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ หากไม่ได้รับอนุญาต (Consent) ใครหน้าไหนก็ไม่มีสิทธิมาสัมผัส แตะต้อง ล่วงล้ำ 2. ภาคธุรกิจมีความความรับผิดชอบทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จะต้องสร้างหลักประกันว่าการดำเนินธุรกิจของตนทั้งภายใต้องค์กร บริษัทคู่ค้า และห้างร้านที่มาเช่าและใช้พื้นที่ ต้องมีมาตราป้องกัน และขจัดการล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน และจะต้องให้การคุ้มครองต่อสวัสดิภาพและไม่เป็นการกล่าวโทษเหยื่อโดยเด็ดขาด (Say no to victim blaming) 3. ความผิดรับชอบของภาครัฐในฐานะผู้รับผิดชอบต่อการบังคับใช้กฎหมายและนโยบายต่อต้านและขจัดการเลือกปฏิบัติและล่วงละเมิดทางเพศทุกรูปแบบ #หยุดคุกคามทางเพศต่อบุคคลข้ามเพศในที่ทำงาน นับตั้งแต่ 18 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 5 เดือนแล้วที่ มีมี่ (นามสมมติ)และนาดาได้ใช้เวลาฟื้นฟูเยียวยาเพื่อเตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจที่บอบช้ำ เพื่อที่จะลุกขึ้นมาส่งเสียงเรียกร้องความยุติธรรมจากเหตุการณ์ที่ มีมี่ ถูกนายจ้างซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทนำเข้านาฬิกาหรูชาวต่างชาติล่วงละเมิดทางเพศ แม้จะได้แจ้งความดำเนินคดีด้วยหลักฐานที่ชัดเจนระดับ 4K แต่มันคงไม่เพียงพอ...และถ้าจะมีครั้งไหนที่นาดาสามารถหยิบเอาคำว่า “กระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม” ภาพเหตุการณ์จากกล้องวงจรปิดที่ทุกท่านได้รับชมในวิดีโคคลิปสั้น ๆ นี้ เพราะการล่วงละเมิดทางเพศผิดทั้งกฎหมายอาญา กฎหมายแรงงาน ผิดต่อนโยบายต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงานของรัฐที่ประกาศอยู่ปาว ๆ มีมี่รักในการทำงานสายทรัพยากรบุคคล เธอเคยมีหน้าตาทางสังคมในฐานะ ผู้หญิงข้ามเพศต้นแบบที่ได้รับการยอมรับจากบริษัทชั้นนำให้เข้ามาทำงานสายนี้ เธอเล่าให้นาดาฟังว่าการที่เลือกเส้นทางอาชีพสายทรัพยากรมนุษย์ ก็เพราะมีแรงบันดาลใจสำคัญมาจากอัตลักษณ์ทางเพศสภาพของเธอเอง “มีมี่รู้ว่าบุคคลข้ามเพศต้องเผชิญกับชะตากรรมเช่นไรในโลกของการทำงาน ถ้าเราเข้าไปเปลี่ยนแปลงแบบแผนและวิธีคิดของผู้บริหารให้เปิดกว้างและยอมรับความแตกต่างหลากหลายของผู้บริหารโดยเฉพาะฝ่ายทรัพยากรบุคคลของภาคธุรกิจได้ พวกเราก็จะมีโอกาสในการจ้างงานที่เท่าเทียม เสมอภาคเหมือนกับคนอื่นทั่วไป” เกิดอะไรขึ้นกับมีมี่...คงไม่มีคำบรรยายใด ๆ จากนาดา ภายหลังจากการปรึกษาหารือกับมีมี่ในฐานะผู้ถูกละเมิด เราสองคนตัดสินใจร่วมกันอย่างหนักแน่นว่า ให้ภาพหลักฐานจากกล้องวงจรปิดเล่าเรื่อง และเมื่อเธอตัดสินใจว่าเธอจะลุกขึ้นสู้ เพื่อปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเธอ นั่นเป็นเหตุให้เธอต้องตัดสินใจลาออกจากงาน มีมี่รู้ดีแก่ใจว่า ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างนายจ้างและลูกจ้างทำให้เธอตกที่นั่งลำบากและไม่มีทางเลือกอื่นใดหากเธอจะร้องทุกข์กล่าวโทษเพื่อดำเนินคดีทางกฎหมายในทุก ๆ ช่องทางที่เพิ่งกระทำได้ #มาตรการคุ้มครองและขจัดการล่วงละเมิดทางเพศของ_GaysornVillage_อยู่ที่ไหน? หลายคนออกมาตั้งคำถามว่า “อ้าว แล้วเกษรมาเกี่ยวอะไรด้วย?” ในฐานะเจ้าของอาคารสถานที่ และในฐานะผู้ดำเนินธุรกิจด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับชั้นนำของประเทศไทยและเอเซีย Gaysorn Village ต้องทำทุกวิถีทางเพื่อสร้างหลักประกันว่า ทุกตารางนิ้วในห้างสรรพสินค้าของตน ทุกชีวิตหายใจอยู่ในอาคารสถานที่แห่งนี้จะต้องมีสวัสดิภาพ ปราศจากการคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศ นั่นหมายความว่า ไม่ใช่แต่เพียงพนักงานของ Gaysorn Village เอง แต่รวมถึงบริษัทคู่ค้าและบรรดาห้างร้านที่มาเช่าและใช้พื้นที่ของตน โดยจะอ้างว่าไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เกี่ยวข้องไม่ได้ แต่สิ่งที่ทำให้นาดาและมีมี่แปลกประหลาดใจอย่างที่สุดคือ ห้างสรรพสินค้าระดับตำนานของประเทศไทยย่านราชประสงค์ Gaysorn Village ซึ่งภายหลังปรับปรุงใหม่ให้ไฉไลกว่าเดิม เพิ่มเติมจุดขายด้านการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้คนกลับไม่มีนโยบายคุ้มครองการล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน ในอาคารสถานที่ ไม่มีการประกาศจรรยาบรรณทางการค้า เมื่อเริ่มมองหาช่องทางและความเป็นไปได้ที่จะทำให้ มีมี่ ได้รับการคุ้มครองจากผู้บริหารห้างสรรพสินค้าฯ นาดาเริ่มค้นหาประวัติ ความเป็นมาของห้าง ด้วยเข้าใจว่าบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับนี้น่าจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ หรือมีการร่วมทุนในระดับนานาชาติ นั่นหมายถึงย่อมต้องประกาศจรรยาบรรณาทางธุรกิจ หรือ Code of Conduct แต่ปรากฏว่าไม่มี...เมื่อค้นความข้อมูลเพิ่มเติมก็พบว่าห้างสรรพสินค้า Gaysorn Village เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของ Gaysorn Property http://www.gaysornproperty.com/ (โดยมีคุณชาญ ศรีวิกรม์ ดำรงตำแหน่งประธานกลุ่มเกษร พร็อพเพอร์ตี้ กรุ๊ป) ซึ่งนาดาค้นหาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอว่า ได้มีการประกาศนโยบาย หรือ เอกสารใด ๆ ในหน้า website ทางการเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน การห้ามเลือกปฏิบัติ และที่สำคัญการต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศในอาคารสถานที่ของตนแต่อย่างใด (ใครหาเจอช่วยกระซิบบอกที) แม้กระทั่งตัวของ มีมี่เองในฐานะคนทำงานด้านทรัพยากรบุคคล เธอได้ติดต่อประสานงานไปยังฝ่ายบุคคลของ Gaysorn Village โดยตรง และได้รับคำตอบกลับมาว่า “ไม่มีเอกสารว่าด้วยนโยบายหรือจรรยาบรรณคู่ค้า” และในสัญญาเช่าอาคารสถานที่ระหว่างนายจ้างและห้างสรรพสินค้าก็ไม่ปรากฏข้อความใด ๆ ที่พูดถึงเรื่องนี้เลยเช่นกัน คำถามชวนให้ขบคิดต่อยอดอย่างจริงจังคือ...แล้วการที่รัฐบาลไทยหมดเงิน ให้นายกรัฐมนตรี พล.อ ประยุทธ์ ไปยืนยิ้มหน้าบาน โปรโมทแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนไปมากโข แต่สุดท้ายบังคับให้ภาคธุรกิจคุ้มครองผู้หญิงข้ามเพศคนหนึ่งจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศโดยนายจ้างในที่ทำงานไม่ได้ มันหมายความว่าอย่างไร? #กฎหมาย_นโยบายดีพอแล้วจริงหรือไม่?_เหตุใดการบังคับใช้จึงล้มเหลวไม่เป็นท่า? รัฐบาลไทยประกาศนโยบายว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิแรงงานภายใต้หลักการธุรกิจและสิทธิมนุษยชน จัดทำและการรับรองและประกาศใช้แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนฉบับแรก (พ.ศ. 2562-2565) แล้ว โดยหลักการแล้วมาตรการคุ้มครองสิทธิแรงงานที่รวมถึง #การล่วงละเมิดและคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ย่อมผูกพันต่อภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นกิจการขนาดเล็กจนไปถึงขนาดใหญ่ ในทุกรูปแบบกิจการไม่ว่าจะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัทจำกัด และที่สำคัญย่อมผูกพันต่อระบบห่วงโซ่อุปทานของธุรุกิจด้วย ดังนั้น เมื่อบริษัทคู่ค้าของ Gaysorn Village ดำเนินธุรกิจที่ละเมิดสิทธิแรงงาน ด้วยการปล่อยให้มีเหตุการณ์ล่วงละเมิดทางเพศในสถานที่ที่เป็นห้างร้านค้าที่เช่าและใช้พื้นที่ภายในอาคารสถานที่ของ Gaysorn Village ห้างสรรพสินค้าฯ ย่อมมีสถานะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และกระทบต่อชื่อเสียง ภาพลักษณ์โดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น ผู้บริหารสูงสุดของห้างจึงไม่ควรนิ่งนอนใจและต้องลุกขึ้นมาแสดงความรับผิดชอบ และออกมาตรการทั้งในด้านนโยบายการดำเนินธุรกิจต่อคู่ค้าหรือคู่สัญญาของตนอย่างเด็ดขาดและจริงจัง เพราะการล่วงละเมิดและคุกคามทางทางเพศในที่ทำงานเป็นปัญหาเรื้อรังระดับชาติ เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ส่งผลกระทบต่อปัจเจกบุคล ทั้ง ๆ รัฐบาลประกาศให้การล่วงละเมิดทางเพศเป็นสิ่งที่ต้องขจัดให้สิ้นซาก อีกทั้งกฎหมายคุ้มแรงงานก็กำหนดบทลงเอาไว้ตั้งแต่ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และตั้งแต่ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 มาตรา 16 “ห้ามมิให้นายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงานหรือผู้ตรวจงาน กระทำการล่วงเกิน คุกคามหรือก่อความเดือดร้อนรำคาญทางเพศต่อลูกจ้าง” อีกทั้งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563 เห็นชอบมาตรการในการป้องกันและแก้ไข ปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในที่การทำางาน ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์เสนอ โดยมอบหมายให้กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวทำาหน้าที่เป็นศูนย์ประสาน การป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน (ศปคพ.) อีกด้วย ความเห็นของนาดา (Human Rights Campaign Advisor, Munushya Foundation) ในฐานะคนทำงานด้าน Business and Human Rights หรือ ธุรกิจและสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในกลุ่มบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ บอกได้คำเดียวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับน้องมีมี่ คือรูรั่วขนาดใหญ่ของรัฐบาลต่อการบังคับใช้กฎหมายและนโยบายต่อต้านการเลือกปฏิบัติและล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงานที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ทุกครั้งที่มีผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศมันคือภาพสะท้อนถึงความล้มเหลวในการบังคับใช้กฎหมายและนโยบายที่เขียนลงบนกระดาษเหล่านี้ ยังไม่นับเรื่องที่จะต้องเช็คบิลนายจ้างชาวต่างชาติหน้าหม้อรายนี้ที่ข้อเท็จจริงมันฟ้องให้เห็นว่า การที่เขาบังอาจล่วงละเมิดมีมี่ และยังไม่ทันจะข้ามวันดีเขาไปจดทะเบียนสมรสกับผู้หญิงที่เขาเรียกว่าเป็นภรรยา ได้ตอกย้ำข้อถกเถียงเรื่อง toxic masculinity เพราะเขาหาได้มองเห็นคุณค่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ในตัวผู้หญิงข้ามเพศอย่างมีมี่ไม่ และนี่คือสิ่งที่นาดาต้องพูดย้ำนักย้ำหนาว่า ประเทศไทยไม่ใช่สวรรค์ของความหลากหลายทางเพศ ไม่ใช่ดินแดนที่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้นเท่าเทียมกันโดยไม่คำนึงว่าเราเกิดมามีเพศวิถีหรืออัตลักษณ์ทางเพศแบบใด แต่คือ Propaganda ที่รัฐบาลใช้หลอกสายตาชาวโลกไปวัน ๆ มาอย่างยาวนาน #นี่คือแหล่งอ้างอิงสำคัญ เผื่อคุณชาญ ศรีวิกรณ์จะมอบหมายให้ผู้บริหารหรือพนักงานของกลุ่มบริษัทเกษรพร็อตเพอร์ตี้ในส่วนที่เกี่ยวข้องและต้องรับผิดชบอต่อเรื่องนี้ได้เข้ามาอ่าน ถ้าไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง...ติดต่อมานาดาได้ 24 ชั่วโมงนะคะ #พันธกรณีระหว่างประเทศที่รัฐไทยผูกพันต้องปฏิบัติตามในการคุ้มครองประชาชนทุกคนจากการถูกล่วงละเมิดและคุกคามทางเพศ ข้อสรุปเชิงสังเกตต่อประเทศไทย กระบวนการทบทวนรัฐบาลไทยต่อการปฏิบัติตามอนุสัญญา CEDAW ย่อหน้าที่ 36 (c) และ 37 (d) https://www.fidh.org/IMG/pdf/cedaw_c_tha_co_6-7_25136_e.pdf
อนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 190 Thailand builds momentum towards a world of work free from violence and harassment https://www.ilo.org/.../news/WCMS_737717/lang--en/index.htm #กฎหมายและนโยบายของรัฐไทยที่คุ้มครองและต่อต้านการล่วงละเมิดและคุกคามทางเพศในที่ทำงาน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 16 http://legal.labour.go.th/พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541_มาตรา 16 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการในการป้องกันและแก้ไข ปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน (http://www.oic.go.th/.../GENERAL/DATA0001/00001612.PDF) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1059/2560 เรื่อง “ตกหลุมรักน้องเขาไปแล้ว” พฤติกรรมที่เป็นการคุกคาม ก่อความเดือดร้อนรำคาญทางเพศต่อผู้ใต้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 16 (http://legal.labour.go.th/attachm.../article/498/60-1059.pdf) #แนวปฏิบัติที่ดีต้นแบบโดยภาคธุรกิจระดับนานาชาติและในประเทศไทย
OECD, Social Institutions & Gender Index: (https://www.genderindex.org/.../files/datasheets/2019/TH.pdf) บริษัท PEPSOICO: การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อตรง วิถีแห่ง PEPSICO https://www.pepsico.com/.../thai_pepsico_global_code_of... บริษัท SEAGATE: หลักจรรยาบรรณ https://www.seagate.com/.../code-of-conduct-policy-final... บริษัท Thai-German Cooperation: ความเท่าเทียมทางเพศ และ การแบ่งปันแนวทางความร่วมมือเพื่อลดการคุกคามทางเพศ https://www.thai-german-cooperation.info/th/gender-equality/ https://www.thai-german-cooperation.info/.../giz.../ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร กำจัด (มหาชน) และบริษัทย่อย: นโยบายการเรื่องการไม่เลือกปฏิบัติและการต่อต้านการล่วงละเมิด https://www.cpfworldwide.com/.../discrimination_and... บริษัท Grab: จรรยาบรรณสำหรับผู้โดยสารแกร็บ ลูกค้าแกร็บฟู้ดและลูกค้าแกร็บเอ็กซ์เพรส
https://www.grab.com/.../terms.../code-of-conduct-consumer/ กลุ่มบริษัท Thai Beverage Group: จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ http://sustainability.thaibev.com/.../codes_of_business... บริษัทเสริมสุข จำกัด (มหาชน): จรรยาบรรณในการปฏิบัติงาน http://www.sermsukplc.com/th/about/page/ethics
コメント