Manushya Foundation
#เฟมินิสม์: เราช่วยผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงระหว่างคู่รักได้ยังไงบ้าง?
⚠️รู้หรือไม่? อัตราส่วนผู้หญิง 1 ใน 4 และผู้ชาย 1 ใน 7 คน ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงจากคนรัก อย่างน้อยในช่วงหนึ่งของชีวิต ตามรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC)
📍 อาจเป็นเรื่องยากมากสำหรับผู้ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงจากคู่รักในการมองหาความช่วยเหลือและการสนับสนุนที่พวกเขาต้องการ ขั้นตอนเหล่านี้อาจช่วยผู้ที่อยู่ในสถานการณ์นี้ได้:
1️⃣ คุยกับพวกเขา แสดงให้อีกฝ่ายเห็นว่าคุณห่วงใยความเป็นอยู่และอยู่เคียงข้างพวกเขา เพียงบอกให้พวกเขารู้ว่าคุณจะคอยรับฟังอย่างเห็นอกเห็นใจอยู่เสมอ อย่าบังคับหรือกดดันให้พวกเขาเปิดใจเล่าเรื่องราวทั้งหมด ต้องสร้างความไว้วางใจก่อนและปล่อยให้บทสนทนาดำเนินไปอย่างสบายๆ
2️⃣ รับฟังโดยไม่ตัดสิน ฟังเรื่องราวโดยไม่ต้องแนะนำ เสนอวิธีแก้ปัญหา หรือตัดสินพวกเขา เพราะเขาอาจโทษตัวเองหรือพยายามหาเหตุผลที่ถูกทำร้าย จงจำไว้ว่าเหยื่อที่ถูกทำร้ายมักรักคนที่ทำร้ายตน
3️⃣ อย่าโทษพวกเขา ยืนยันว่าความรู้สึกและสิ่งที่พวกเขาเผชิญคือเรื่องจริงและมีคนเชื่อหรือรับรู้ คุณสามารถพูดประโยคที่แสดงความมั่นใจเหล่านี้ได้: ฉันเชื่อคุณ; นี่ไม่ใช่ความผิดของคุณ; คุณไม่สมควรได้รับสิ่งนี้ เป็นต้น บ่อยครั้งที่เหยื่อเป็นคนเดียวที่มองเห็นด้านมืดของผู้ใช้ความรุนแรง พวกเขาจึงอาจรู้สึกว่าไม่มีใครเชื่อหากบอกคนอื่นเรื่องความรุนแรงที่เกิดขึ้น
4️⃣ อย่าเอาแต่บอกให้พวกเขาออกไปจากความสัมพันธ์ มันอาจเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจว่าทำไมคนที่คุณห่วงใยถึงยังคงอยู่ในความสัมพันธ์ที่ถูกทำร้าย ความจริงคือมันไม่ง่ายเลยที่จะออกจากความสัมพันธ์นั้นๆ งานวิจัยชี้ว่าความเสี่ยงในการถูกฆ่ามักจะเพิ่มขึ้นเมื่อเหยื่อพยายามหลบหนีจากผู้ทำร้าย แม้คุณจะคิดว่าพวกเขาควรออกจากความสัมพันธ์นั้นเสียที แต่บางครั้งมันก็ไม่ใช่สิ่งที่ปลอดภัยเสมอไป จงช่วยเสริมพลังให้พวกเขาได้เลือกเส้นทางตัดสินใจเองจะดีกว่า
5️⃣ ช่วยพวกเขาคิดหาทางออก ช่วยให้เหยื่อได้รับแรงสนับสนุนและทรัพยากรที่เพียงพอ และลองช่วยพวกเขาคิดแผนการที่ปลอดภัยที่สามารถใช้ได้จริงหากเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงขึ้นอีกหรือหากถึงจุดที่พวกเขาตัดสินใจออกจากความสัมพันธ์นั้นๆ การวางแผนอาจช่วยให้พวกเขาเห็นภาพขั้นตอนที่จำเป็นชัดเจนขึ้นและยังช่วยให้พวกเขาได้เตรียมใจให้พร้อม
#WeAreManushyan ∞ มนุษย์เท่าเทียมกัน
✊ มูลนิธิมานุษยะขอยืนหยัดเคียงข้างผู้รอดชีวิตจากการถูกทำร้ายทั้งทางร่างกาย ทางเพศ และทางจิตใจ เพราะความรุนแรงในคู่รักนี้ยังคงเกิดขึ้นมากในสังคม เราทุกคนจึงต้องช่วยกันพูดคุยให้มากขึ้นถึงความไม่ปกติในเรื่องนี้เพื่อสร้างความตระหนักรู้และทำลายคติเกี่ยวกับการทำร้ายร่างกาย เราต้องสร้างพื้นที่ปลอดภัยทั่วโลกเพื่อให้เหยื่อรู้สึกสบายใจมากพอที่จะเลิกโทษตัวเองและเปิดใจ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการหาทางออกและช่วยให้พวกเขาหลุดพ้นจากความสัมพันธ์ที่เลวร้ายนี้
อ้างอิง:
Healthline, Domestic Violence: Hurting the Economy as Well as the Victims, (13 กรกฎาคม 2561), อ่านที่: https://www.healthline.com/health/domestic-violence-costs?epik=dj0yJnU9NHFSUUF2N1J2Qk9OQXZYMldMSTN1c0NISWw1dllQUE0mcD0wJm49UWc3bjRUZUdMRVJNVFNuUUN3ajdlZyZ0PUFBQUFBR1B0X0tJ
Am J Public Health, Risk Factors for Femicide in Abusive Relationships: Results From a Multisite Case Control Study, (กรกฎาคม 2556), อ่านที่: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1447915/
#เฟมินิสต์ #ความรุนแรง #ความรุนแรงในคู่รัก #การทำร้ายร่างกาย #Feminist #DomesticViolence #ToxicRelationship #AbusiveRelationship #InterpersonalViolence #Violence #SexualViolence #VictimBlaming #Abuse
Comments