top of page
  • Writer's pictureManushya Foundation

The Shadow of Section 112: Thailand's Struggle for #Democracy ⤵️



🇹🇭 On November 19, 2023, Thailand marked three years since Prayuth’s government reinstated Section 112, its lèse-majesté law, as a response to the 2020 pro-democracy movement. This decision triggered a steady increase in legal action.


What is Section 112? This law provides that insulting or defaming the Royal Family is a crime. Anyone found guilty of defaming, insulting, or threatening the King, Queen, Heir-apparent, or Regent can face three to fifteen years in prison. This provision, known for affecting freedom of expression, was reinstated after calls for reforms during the 2020 pro-democracy protests.


According to the Thai Lawyers for Human Rights (TLHR), over 1,930 people have faced legal action since July 2020, with 259 now dealing with severe Section 112 charges, potentially leading to multiple imprisonments. The legal situation is intense, with evidence presented and court judgments issued. Many are still in jail, denied bail, with no noticeable changes in Thailand’s enforcement approach.


The country is grappling with the consequences of Section 112, trying to find a balance between protecting the monarchy and its citizens' freedom of expression. The past three years have been defining for Thai democracy, with the world closely watching the nation's path forward. Voicing opinions should never be deemed a crime. It's time for Thailand to prioritize democracy, and show real commitment towards its people’s rights and freedoms! 


#WeAreManushyan ∞ Equal Human Beings


✊ Manushya Foundation condemns the lèse-majesté law and urges the Thai government to uphold its international human rights obligations regarding the right to freedom of expression and information, laid down in Article 19 of the UDHR and ICCPR. We also emphasize the importance of addressing the 12 UPR recommendations on freedom of expression received during its 3rd UPR cycle in 2021, which includes the revision of Section 112.


__________


วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ถือเป็นวันครบรอบ 3 ปีที่รัฐบาลของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้นำ มาตรา 112 กลับมาใช้ เพื่อรับมือกับการชุมนุมของเยาวชนและประชาชนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในปีพ.ศ. 2563 โดยการกลับมาของ 112 ครั้งนี้ทำให้เกิดการดำเนินการทางกฎหมายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


มาตรา 112 คืออะไร? มาตรา 112 เป็นมาตราหนึ่งในประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี” โดยกฎหมายฉบับนี้เป็นที่ทราบกันดีว่ามีผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออก 


จากข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR) นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 มีผู้ถูกดำเนินคดีทางกฎหมายมากกว่า 1,930 ราย โดยขณะนี้มี 259 รายที่ต้องเผชิญข้อหาตามมาตรา 112 ซึ่งอาจนำไปสู่การจำคุกหลายกระทงและเผชิญกับโทษจำคุกหลายสิบปี ขณะนี้ผู้ชุมนุมหลายคนยังถูกจำคุก ถูกปฏิเสธการประกันตัว และไม่มีวี่แววว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือปฏิรูปแนวทางการบังคับใช้มาตรา 112


ประเทศไทยกำลังต่อสู้กับผลที่ตามมาของมาตรา 112 การค้นหาสมดุลระหว่างการปกป้องสถาบันกษัตริย์และเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนในช่วงเวลา 3 ปีมานี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบอบประชาธิปไตยของไทย  การแสดงความคิดเห็นต้องไม่ถือเป็นอาชญากรรม ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศไทยจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ มุ่งเน้นถึงเคารพสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญ


#WeAreManushyan ∞ Equal Human Beings


✊ มูลนิธิมานุษยะขอประณามการใช้มาตรา 112 ในทางที่ผิด และขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยเคารพพันธกรณีสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในเรื่องสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งระบุไว้ในมาตรา 19 ของ UDHR และ ICCPR นอกจากนี้ เราขอเน้นย้ำถึงความสำคัญของการดำเนินการตามข้อเสนอแนะ 12 ประการ (UPR Recommendations) เกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออกที่ได้รับระหว่างรอบ UPR ครั้งที่ 3 ในปี 2021 ซึ่งข้อเสนอแนะดังกล่าวรวมถึงการแก้ไขมาตรา 112


#Abolish112 #FreeAllPoliticalPrisoners #ปฏิรูปไม่เท่ากับล้มล้าง #ยกเลิก112 #ปฎิรูปสถาบันกษัตริย์




bottom of page