top of page
  • Writer's pictureManushya Foundation

แก้ไขม.112 ≠ ล้มล้างการปกครอง



หลังจากกกต.มีมติเอกฉันท์ในการยื่นยุบพรรคก้าวไกลแก่ศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจากนโยบายในการแก้ไขม.112 ของพรรคก้าวไกลที่กกต.คิดเห็นว่้าเป็นการล้มล้างการปกครอง วันนี้ (14 มี.ค. 2567) ศาลอาญากรุงเทพใต้ ได้มีคำพิพากษาจำคุก ‘แม้กกี้’ ผู้มีความหลากหลายทางเพศจากยโสธร จากการทวีต 18 ข้อความลงในแอพฯทวิตเตอร์ ในตดีม.112และพรบ.คอมพิวเตอร์ เป็นจำนวน 25 ปี


พรรคก้าวไกลเคยโดนยุบพรรคในลักษณะเดียวกัน ขณะที่เป็นพรรคอนาคตใหม่เมื่อปี 63 และกลับมาได้รับคะแนนเลือกตั้งอันดับที่ 1 ในการเลือกตั้งปี 66 และอาจนำไปสู่การตั้งคำถามสำหรับพรรคก้าวไกลว่าหากโดนยุบพรรค จะเป็นการสร้างคลื่นลูกใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมของพรรคนี้หรือไม่?


ถึงแม้ว่ากระแสการ #ยกเลิก112 จะมีการพูดถึงตั้งแต่ปี 63 - 64 ที่ขบวนการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยของไทยกลับมาผลิบานอีกครั้ง แต่การโดนคดีด้วยมาตรานี้ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกและการชุมนุมทางการเมืองในข้อหาตามมาตรา 112 แล้วอย่างน้อย 268 คน ใน 297 คดี นับตั้งแต่ปี 63 - 67 จากการเก็บข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน


ม.112 มักถูกใช้จากผู้ที่ฝักใฝ่ในระบบกษัตริย์และเผด็จการ และมักอ้างถึงความสั่นคลอนของการปกครองของประเทศ อีกทั้งมาตรานี้มีคำจำกัดความในการฟ้องร้องที่กว้าง อาทิเช่น การร่วมชุมนุมหรือการแสดงออกทางการเมืองที่ตั้งข้อสงสัยกับการมีอยู่ของระบบกษัตริย์ หรือแค่นโยบายที่จะแก้ไขม.112ให้มีคำจำกัดความที่รัดกุม เพื่อป้องกันการฟ้องเพื่อปิดปากหรือเพื่อขัดขวางการใช้ชีวิตของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ก็สามารถถูกนับรวมและถูกดำเนินคดีในกฎหมายมาตรานี้ได้เช่นกัน ทำให้ข้อกฎหมายนี้เป็นข้อกฎหมายที่ยังแสดงให้เห็นถึงความล้าหลังของการเมืองในประเทศไทย ที่ไม่สามารถแม้แต่จะตั้งคำถามกับกฎหมายหรือสถาบันที่มีอยู่ได้ และเพียงแค่มีมาตรากฎหมายนี้อยู่ การจะแสดงออกทางการเมืองใด ๆ สามารถโดนปิดกั้นได้ เพราะมีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่กลัวว่าตนจะโดนฟ้องในคดีม.112


การตั้งข้อสงสัย หรือการปรับเปลี่ยนแก้ไขในสิ่งที่ล้าหลังและไม่ยุติธรรรม นั่นคือการล้มล้างการปกครองในสายตาผู้มีอำนาจ แล้วการขัดขวางไม่ให้ประเทศพัฒนาสิ่งนั้นเรียกว่าการสนับสนุนการปกครองสำหรับประเทศไทยอย่างนั้นหรือ ?


#WeAreManushyan  Equal Human Beings


bottom of page