top of page
Writer's pictureManushya Foundation

💥💢 Sexist jokes are microaggressions, and they are part of a bigger patriarchal problem



(TH below)

💥💢 Sexist jokes are microaggressions, and they are part of a bigger patriarchal problem


🎸🥁 Recently, a Thai pop-rock band consisting of five men in their late 30s has come under fire for making sexually aggressive jokes at their concert. In a session intended to be a “comedic break”, a group of conventionally attractive girls came on stage to role play a lottery drawing event while the band members and their guest delivered jokes by complimenting on the women’s appearance. One member even he they could not participate because he was “scared of [his] wife”.


🗣 While part of the fans dismissed the backlash, proclaiming that everyone was there to have fun, not to be “politically correct”, another equally huge part was obviously disappointed and disturbed by the sexist and misogynistic nature of the jokes – and they were for the right reasons.


📌 Jokes at the expense of women and other gender and sexual minorities have been long been considered “harmless fun”, but they may fall under what’s considered microaggressions. According to psychologist Derald W. Sue, microaggressions are “the everyday slights, indignities, put downs and insults that people of color, women, LGBT populations or those who are marginalized experience in their day-to-day interactions with people."


🗯 Without the intention to be offensive or derogatory, these comments have hostile implications. For instance, sexual or flirty comments on women’s bodies as a form of entertainment inherently promotes the objectification and sexualization of women. Similarly, when a man pokes fun at himself for being the “inferior” one or being “scolded” by their wives, it is usually indicative of their lack of responsibilities, for example, their inability to help with chores. This narrative also trivializes the real power imbalance where men are structurally more privileged.


#WeAreManushyan ♾ Equal Human Beings


✊ Manushya Foundation condemns all sexist, misogynistic, and patriarchal acts against women and LGBTIQ+ people. Jokes at the expense of women and other gender diverse minorities not only represent patriarchal norms that are deeply embedded in our society, but also perpetuate them. If we are to abolish oppressive attitudes, we cannot ignore the manifestations of patriarchy, no matter how minor, and we must constantly reflect if our actions or beliefs are harmful.



 


💥💢 มุกเหยียดเพศ ไม่ใช่แค่ "เรื่องขำๆ" แต่คือการกระทำที่แฝงความรุนแรง (microaggressions)


🎸🥁 เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา เป็นที่พูดคุยกันอย่างกว้างขวางในโลกออนไลน์เกี่ยวกับกรณีที่วงดนตรี Pop rock ของไทยชื่อดังวงหนึ่ง มีการเล่นมุกเหยียดเพศและใช้คำพูดเชิงคุกคามผู้หญิง โดยช่วงที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักคือช่วงที่วงนี้เชิญผู้หญิงกลุ่มหนึ่งขึ้นมาเล่นเป็นพนักงานจับสลากกินแบ่ง และพูดจาแทะโลม ชื่นชมรูปร่างหน้าตา และยังมีสมาชิกวงคนหนึ่งกล่าวทำนองว่า “เล่นด้วยไม่ได้เพราะลูกเมียมาด้วย”


🗣 แน่นอนว่าแฟนคลับของวงนี้บางส่วนไม่เห็นด้วยกับการวิพากษ์วิจารณ์ที่เกิดขึ้น และมองว่าคนที่ไม่พอใจกับมุกเหล่านี้คิดมากเกินไป อย่างไรก็ดี มีแฟนคลับอีกจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกผิดหวัง และเห็นว่ามุกเหล่านี้มาจากแนวคิดของระบอบชายเป็นใหญ่ และทำให้หลายคนที่ไปดูรู้สึกไม่สบายใจ


📌 แม้มุกที่มีความหมายในเชิงกดทับผู้หญิงและคนหลากหลายทางเพศจะถูกมองว่าเป็น “เรื่องขำๆ” ในสังคมมานาน แต่ความจริงแล้วมันคือสิ่งที่อาจจัดได้ว่าเป็น ‘Microagressions’ หรือการกระทำที่แฝงด้วยความรุนแรง โดย Derald W. Sue นักจิตวิทยาที่เคยเขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ นิยาม Microaggressions ว่าเป็น “การพูดจาดูถูกหรือเหยียดหยามที่คนผิวสี ผู้หญิง LGBTIQ+ หรือกลุ่มคนชายขอบต้องเผชิญเป็นประจำในชีวิตประจำวัน”


🗯 คำพูดหรือการกระทำเชิงนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์ตรงๆ เพื่อด่าทอหรือกดทับอีกฝ่าย หลายๆ ครั้งอาจมีเจตนาดีด้วยซ้ำ แต่นัยยะของคำเหล่านี้อาจส่งผลเสียได้ ตัวอย่างเช่น ในการแซวรูปร่างหน้าตาของผู้หญิงเพื่อเรียกเสียงหัวเราะหรือสร้างความบันเทิง คนที่แซวอาจคิดว่าตั้งใจแค่ต้องการชื่นชม แต่มีส่วนนำไปสู่การตอกย้ำสถานะของผู้หญิงในฐานะวัตถุทางเพศ หรืออย่างการเล่นมุก ‘กลัวเมีย’ นั้นหลายครั้งมีความหมายแฝงว่าคนเป็นภรรยาต้องคอย “ควบคุมพฤติกรรม” ของสามี และความรับผิดชอบในความสัมพันธ์ถูกผลักไปให้คนเป็นผู้หญิง อีกทั้งยังลดทอนความจริงที่ว่าอำนาจที่ไม่เท่าเทียมในโครงสร้างและความสัมพันธ์ ซึ่งให้อภิสิทธิ์กับผู้ชายมากกว่า



Comments


bottom of page