top of page
  • Writer's pictureManushya Foundation

#วันยุติความรุนแรงต่อพนักงานบริการ: ยกเลิกความผิดทางอาญาของการค้าบริการ!







👠 📅 วันนี้คือวันยุติความรุนแรงต่อพนักงานบริการสากล เราขอเน้นย้ำว่าพนักงานบริการจะปลอดภัยและเท่าเทียมได้ รัฐต้องยกเลิกกฎหมายห้ามการค้าบริการ!👇


📌 การขายบริการทางเพศไม่เพียงถือว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีความผิดทางอาญาด้วย ถึงแม้ว่าในไทยจะประมาณ 300,000 คนที่หาเลี้ยงชีพด้วยการขายบริการ แต่พวกเขาแทบไม่ได้รับความคุ้มครองใดๆ เลย!

🚓🚨 เมื่อการค้าบริการเป็นสิ่งผิดกฏหมาย ทำให้พนักงานบริการมีความเสี่ยงอย่างมากต่อความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่ตำรวจและลูกค้า ตำรวจบุกเข้าค้นแหล่งทำกินและคุกคามพนักงานบริการตามอำเภอใจ รวมไปถึงมีการรีดไถสินบนและอ้างว่าเป็น “เงินคุ้มครอง” แม้ว่าพนักงานบริการต้องเผชิญกับความรุนแรงจากลูกค้า พวกเขาก็ไม่มีหนทางในการเรียกร้องการเยียวยาเพราะกลัวว่าจะถูกดำเนินคดี

#SexWorkIsWork ⚠️ เนื่องจากพนักงานบริการทำงานโดยปราศจากการคุ้มครองทางกฎหมาย ความอันตรายและความเสี่ยงจะเจอความรุนแรงจึงไม่ใช่ปัญหาเดียวของพวกเขา อีกประเด็นสำคัญคือพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะและสวัสดิการจากรัฐ ในช่วงการระบาดของโควิด-19 พนักงานบริการเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนใดๆ จากรัฐบาลเลย

✊ พนักงานบริการ รวมถึงพนักงานบริการที่ต้องเผชิญกับการเลือกปฏิบัติหลากหลายรูปแบบ เช่น ชนพื้นเมือง ชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ หรือบุคคล LGBTIQ+ เป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมและมีสิทธิเท่าเทียมกัน! สถานะของพวกเขาต้องได้รับการยอมรับโดยเร็วที่สุด!

#WeAreManushyan ♾️ มนุษย์เท่าเทียมกัน

✊ มูลนิธิมานุษยะขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกความผิดทางอาญาของการค้าบริการ ให้การคุ้มครองที่จำเป็นแก่พนักงานบริการ และยุติความรุนแรงต่อพวกเขาโดยด่วน!


เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ของพนักงานบริการในไทย

  • อ่านเอกสารข้อเท็จจริงโดยมูลนิธิมานุษยะเรื่องสิทธิของพนักงานบริการในไทยเพื่อยื่นระหว่างการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (UPR) ครั้งที่ 3 ของประเทศไทย: https://www.manushyafoundation.org/thailand-third-upr-cycle-factsheet-the-rights-of-sex-workers

  • อ่านรายงาน Joint Civil Society Shadow Report เพื่อยื่นระหว่างการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (CERD Review) ของประเทศไทย ซึ่งเราได้ประณามการเลือกปฏิบัติพนักงานบริการชาวอีสาน: https://www.manushyafoundation.org/joint-civil-society-cerd-shadow-report


bottom of page