top of page
  • Writer's pictureManushya Foundation

📢 The government must fulfill the promise given to the #SaveNabon group!





(English below)

#Saveนาบอน 📢 รัฐบาลจะต้องดำเนินการตามสัญญาที่ให้ไว้กับชาวบ้านนาบอน!


เมื่อวันที่ 25 กรกฎาที่ผ่านมา เครือข่าย #Saveนาบอน ได้ประกาศยุติการชุมนุมหลังปักหลักเรียกร้องที่หน้าทำเนียบรัฐบาลเป็นเวลากว่าหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากสำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกมาแจ้งผลการประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้สัญญาต่อชาวบ้านนาบอนว่าได้มีการจัดตั้งการประชุมคณะกรรมการเพื่อการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) ตามคำเรียกร้อง



❗เกิดอะไรขึ้นก่อนหน้านี้?


#ม็อบ24กรกฎา65 ชาวบ้านอำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราชทั้ง 12 คน ได้เดินทางมาชุมนุมประท้วงที่บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อเน้นย้ำและเรียกร้องให้รัฐบาลปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่จะดำเนินการศึกษายุทธศาสตร์การประเมินสิ่งแวดล้อม (SEA) ของโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ได้เสนอให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าสองแห่งในชุมชนนาบอน แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจล้อมไว้ตั้งแต่ช่วงเย็นของวันที่ 24 กรกฎาคม 2565 อีกทั้งยังไม่อนุญาตให้ส่งอาหารและน้ำดื่มเข้าไปอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประท้วง ชาวบ้านถูกปฏิเสธไม่ให้เดินทางออกไปไหนแม้กระทั่งไม่ให้ออกไปเข้าห้องน้ำ สื่อมวลชนเองก็ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุและลิดรอนสิทธิขึ้นพื้นฐานของประชาชน


❗ทำไมเราถึงควรให้ความสนใจเรื่อง #Saveนาบอน ?

ชาวบ้านนาบอนถูกคุกคามจากโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล (WtE) ซึ่งเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาสภาพอากาศอย่างไม่ถูกต้อง โดยกล่าวอ้างว่าเป็นการผลิตพลังงานสะอาด แม้ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงต่อชุมชนใกล้เคียงจะปรากฎให้เห็นแล้วก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวกลับยังไม่ได้รับการหารือถึงการแก้ไขแต่อย่างใด!


* โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล WtE จะสามารถดำเนินการได้ต่อเมื่อ ได้รับคำปรึกษาและความยินยอมจากชาวบ้านในชุมชนเสียก่อน เพราะถือเป็นสิทธิในการได้รับข้อมูลและสิทธิในการมีส่วนร่วมของชาวบ้านนาบอน ตามที่กำหนดไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง นอกจากนี้ชุมชนนาบอนยังมีสิทธิในการประท้วงอย่างสันติต่อโครงการดังกล่าว

* การดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล WtE ไม่ปฏิบัติตามความตกลงปารีสและคำมั่นสัญญาของประเทศไทยที่ปรากฎอยู่ใน COP27 ของเมื่อปีที่ผ่านมา เพราะนอกจากการเผาขยะอินทรีย์จะส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทำนองเดียวกันกับเชื้อเพลิงฟอสซิลแล้ว การเผาขยะอินทรีย์ก็ไม่สามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอนแต่อย่างใด ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีของ WtE ไม่ได้เป็นการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือจัดการต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ


✊🏼 มูลนิธิมานุษยะ ขอประณามการการแก้ไขปัญหาสภาพอากาศอย่างไม่ถูกต้องของรัฐบาลไทย อีกทั้งขอเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมยืนหยัดไปกับชาวบ้านนาบอนในการเรียกร้องให้มีการดำเนินกระบวนการ SEA โดยเร็ว! นอกจากนี้เรายังขอเรียกร้องให้รัฐบาล:


1️⃣ ให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสตรีนิยม โดยให้ความสำคัญต่อชุมชนเป็นหลัก

2️⃣ ถอดถอนโครงการ WtE ออกจากนโยบายพลังงานของประเทศไทย และระงับโครงการนี้ออกจากการจัดหาเงินทุนด้านสภาพอากาศในทุกรูปแบบ


 

On July 25, after more than a week of pushing their demand in front of the Government House, the #SaveNabon group announced an end of their protest as a Government representative came out to talk to them and promised to finally conduct an effective and sound Strategic Environmental Assessment.


❗What happened?


After a week of demonstrations, 12 villagers from the Na Bon District protesting by the Government House in Bangkok were surrounded by police on the evening, of 24 July. They demanded that the Government fulfills its promise to conduct a Strategic Environmental Assessment (SEA) study of a biomass power plant project that proposes to build two power plants in their community. Police did not allow any food and water to be sent to protesters, and the press was excluded from the site.


❗ Why we must #SaveNabon?


The Na Bon community is threatened by the waste to energy (WtE) project, a false climate solution pretending to produce clean energy. Even though it can have serious environmental and human rights impacts on nearby communities, they have not been consulted on the matter!


• WtE power plant cannot be built without community consultation & consent as these are embedded in the Na Bon villagers' right to information & right to participation under the International Covenant on Civil and Political Rights.


• WtE is not in accordance with the Paris Agreement and Thailand's pledges from last year's COP27. As a result, the WtE technology neither promotes sustainable development nor tackles climate change due to its greenhouse gasses emitted through the burning of organic waste.


• The Thailand government must be held accountable and fulfill its promise to conduct the SEA process as soon as possible.


✊🏼 Manushya Foundation denounces the false climate solutions of the Thai government and we stand with Na Bon villagers in their request for a prompt SEA process! We also demand the Government to:


1️⃣ Put first a Just, Inclusive, Green and Feminist Transition with communities at the center.

2️⃣ Remove WtE from the energy policy of Thailand and exclude it from all forms of climate financing.


---------

References

Nicha Wachpanich, Vows and Crises, Thai communities face health risks in the name of "Clean Energy", (3 December 2021) available at https://climatetracker.org/vows-and-crises-thai-communities-face-health-risks-in-the-name-of-clean-energy/


bottom of page