top of page
Writer's pictureManushya Foundation

แผน NAP-BHR คืออะไร ทำไมเราถึงไม่ต้องการแผนนี้













#หยุดNAPping ⛔ ในด้านการเคลื่อนไหวเรื่องภาคธุรกิจและสิทธิมนุษยชน แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยภาคธุรกิจและสิทธิมนุษยชน หรือ NAP-BHR ได้ถูกนิยามว่าเป็น “นโยบายเชิงกลยุทธ์ขั้นสูงจากภาครัฐที่พัฒนาให้สอดคล้องกับหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UNGPs) เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนจากผลกระทบรุนแรงโดยกิจการธุรกิจใด ๆ”


🚩อาจเรียกได้ว่า แผน NAP-BHR นี้เป็นเหมือน ‘การผสมผสานอย่างชาญฉลาด’ ของมาตรการต่าง ๆ นั่นคือ การรวมทุกมาตรการไว้ที่เดียวอย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นมาตรการเชิงบังคับ เชิงสมัครใจ ทั้งในแง่ระดับชาติและนานาชาติที่จำเป็นต้องใช้เพื่อผลักดันให้ภาคธุรกิจสามารถเคารพหลักสิทธิมนุษยชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


❗จนถึงตอนนี้ ประเทศไทยได้ดำเนินแผน NAP-BHR วาระที่ 1 แล้วซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2562 โดยระยะที่ 1 นี้จะมีกำหนดระยะเวลาการทำงาน 3 ปีจนถึงสิ้นปี 2565 ปีนี้จะเป็นปีสุดท้ายสำหรับการประเมินความคืบหน้าอย่างเป็นทางการระหว่างปี 2562-2565 ภายใต้แผน NAP-BHR วาระที่ 1 และในขณะนี้ ฉบับร่างของแผน NAP-BHR วาระที่ 2 กำลังอยู่ในช่วงเปิดให้แสดงความคิดเห็นสาธารณะ ซึ่งในวาระที่ 2 นี้จะครอบคลุมระยะเวลาถึง 4 ปี (พ.ศ. 2566-2570)


🚩 ผลปรากฏว่า แผน NAP-BHR วาระที่ 1 ไม่เคยเพียงพอ แผนปฏิบัติการนี้กลับกลายเป็นเพียงเครื่องมือไร้ประสิทธิภาพชิ้นหนึ่ง เป็นเพียงเป็นแผนงานใช้สำหรับการประชุม และเป็นเพียงแผนปฏิบัติโดยสมัครใจที่ไม่เกิดผลจริง ซึ่งแทบไม่ส่งเสริมให้ธุรกิจมีความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและไม่มีการควบคุมการดำเนินรับผิดชอบของบริษัทต่อผลกระทบที่ก่อ ซ้ำร้ายแผนนี้ยังล้มเหลวในการจัดการกรณีการลอยนวลพ้นผิดของธุรกิจเพื่อนำความยุติธรรมมาสู่ชุมชนท้องถิ่นและกลุ่มคนชายขอบ!


👉 มูลนิธิมานุษยะ พร้อมด้วยเครือข่ายผู้ที่ต่อสู้เรื่องภาคธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในไทยและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนคนอื่น ๆ ได้รวมตัวส่งเสียงการต่อสู้กันเป็นหนึ่งและจัดการประท้วงขนาดย่อมบนเวทีการประชุมว่าด้วยภาคธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกประจำปี 2022 (#RBHRF2022) ภายในสหประชาชาติ เพื่อประณามความไร้ประสิทธิภาพของแผน NAP-BHR วาระที่1 และเรียกร้องกฎระเบียบข้อบังคับที่แท้จริงเพื่อยุติการลอยนวลพ้นผิดของภาคธุรกิจ! “หยุด NAPping ได้แล้ว! แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยภาคธุรกิจและสิทธิมนุษยชนพวกนี้ไม่เคยเพียงพอ เราต้องการมาตรการทางกฎหมายที่เข้มแข็งเพื่อเรียกร้องความรับผิดชอบจากภาคธุรกิจอย่างแท้จริง!" ถ้อยคำหนักแน่นจากคุณเอมิลี่ ประดิจิต ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการมูลนิธิมานุษยะ ที่ได้ประกาศจุดยืนอย่างชัดเจนภายในงาน ‘CSO Safe Space’ ที่เธอรับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินงาน✊


✊ เราไม่เพียงแต่ประณามความไร้ประสิทธิภาพของแผน NAP-BHR วาระที่ 1 เท่านั้น แต่เรายังรวมตัวกันเพื่อหารือเกี่ยวกับฉบับร่างของแผน NAP-BHR วาระที่ 2 ด้วย เพื่อที่จะต่อยอดความคิดเห็นแล้วนำไปยื่นให้กับรัฐบาลไทยต่อไป เพราะเช่นเดียวกับแผน NAP-BHR วาระที่ 1 ฉบับร่างของแผน NAP-BHR วาระที่ 2 นั้นยังคงน่าผิดหวังและไม่มีการรวบรวมมาตรการบังคับใด ๆ เพื่อรับรองกฎหมายว่าด้วยการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (mHRDD) หรือมาตรการป้องกันการเกิดกรณีฟ้องปิดปากที่เป็นการทำเพื่อปกป้องนักสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริงจากความมุ่งร้ายขององค์กรธุรกิจ


🚨 ตอนนี้เห็นเหตุผลแน่ชัดแล้วว่าทำไมเราถึงไม่เอาแผน NAP-BHR อีกต่อไป! พวกเราต้องการมาตรการภาคบังคับที่ยึดถือชีวิตของผู้คนและสิ่งแวดล้อมเหนือผลกำไร! หยุดใช้นโยบายเพียงลมปาก มีเพียงระเบียบข้อบังคับที่เข้มแข็งเท่านั้นที่สามารถหยุดวงจรลอยนวลพ้นผิดขององค์กรธุรกิจได้จริง!


#WeAreManushyan ♾️ Equal Human Beings


🗣️ โปรดติดตามการเคลื่อนไหวของเราต่อไป! 👉 มูลนิธิมานุษยะร่วมกับเครือข่ายผู้ที่ต่อสู้เรื่องภาคธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในไทยกำลังจะจัดงานการประเมินแผน NAP-BHR วาระที่ 1 รวมถึงจัดเวทีแสดงความคิดเห็นต่อแผน NAP-BHR วาระที่ 2 อีกด้วยในเร็ว ๆ นี้ เตรียมตัวให้พร้อม เพราะเราพร้อมแล้วที่จะพูดความจริงมาตอกกลับคำโกหกของรัฐบาล!



ข้อมูลเพิ่มเติม

➡️ อ่านเรื่องราวการทำงานของเราในด้าน #CorporateAccountability และบทวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับแผน NAP-BHR ในประเทศไทยได้ด้านล่างนี้!

  • #AsiaWakeUp: สิ้นสุดงาน #RBHRF2022 ได้เวลาประกาศกร้าวว่าประเทศไทยไม่เอา NAP #หยุดNAPping!

  • #CorporateAccountability #AsiaWakeUp: พวกเราต้องการสนธิสัญญาทางกฎหมาย #BindingTreaty เพื่อรับประกันได้ว่าบริษัทจะลงมือทำการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน!

  • อ่าน UPR Factsheet ของเราได้ที่ Adverse Impact of Bilateral and Regional Free Trade Agreements, 29 กันยายน 2021

  • อ่าน UPR Factsheet ของเราได้ที่ People and Planet over Profit, 13 กันยายน 2021

  • อ่านสรุปความเห็นร่วมต่อแผน NAP-BHR ของเราได้ที่ Joint Comments, มิถุนายน 2019

  • อ่านแบบประเมิน BHR: แบบประเมินพื้นฐานแห่งชาติระดับ CSO อิสระเกี่ยวกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชนได้ที่ BHR Assessment Chapters, มีนาคม 2019


Comments


bottom of page