top of page
  • Writer's pictureManushya Foundation

ความรุนแรงทางเพศบนโลกออนไลน์ ก่อให้เกิดความเสียหายบนโลกความเป็นจริง!


#Intersectional feminists เราต้องการให้โลกออนไลน์เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน!


ในโลกดิจิทัลปัจจุบันนี้ อินเทอร์เน็ตได้เปลี่ยนวิธีการรับข้อมูล การสื่อสารกับผู้คน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ รวมไปถึงการเข้าร่วมสนทนาในหัวข้อที่หลากหลาย แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะมีประโยชน์เป็นอย่างมาก แต่ก็เป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการคุกคามรูปแบบใหม่ อย่างความรุนแรงทางเพศบนโลกออนไลน์ (Online gender-based violence, OGBV) ที่เป็นหนึ่งในการล่วงละเมิดทางเพศและการเลือกปฏิบัติ


ต้นเหตุของความรุนแรงนี้คือความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ : การเลือกปฏิบัติทางเพศ, การเหมารวมทางเพศ และการกีดกันทางเพศ ฯลฯ

ในขณะที่ OGBV มีผลกระทบต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิงที่มีความหลากหลายในตนเอง

แต่ความเสี่ยงในการเกิด OGBV ยิ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้หญิงที่ต้องเผชิญหน้ากับการถูกกีดกันให้เป็นคนชายขอบ

รวมถึงผู้หญิงพิการ, ผู้หญิงผิวสี, ผู้หญิงชนพื้นเมือง, ผู้หญิงที่เป็นผู้อพยพ, และผู้หญิงที่เป็น LGBTIQ+.


ผลกระทบของ OGBVเป็นอันตรายเท่ากับความรุนแรงในโลกออฟไลน์ ส่งผลกระทบด้านลบต่อความเป็นอยู่ที่ดีของผู้หญิงและเด็กผู้หญิง

รวมถึงการจำกัดสิทธิในการแสดงออกอย่างเท่าเทียมและเสรี ไม่เพียงแค่สร้างความทุกข์ทางจิตใจเท่านั้น

แต่ยังเป็นการบั่นทอน และกีดกันพวกเขาจากการมีส่วนรวมบนโลกออนไลน์ทั้งในทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรม


ในขณะที่ OGBV เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจน

แต่การพัฒนาเทคโนโลยีก็เร็วเกินกว่าความพยายามในการปกป้องและแก้ไขปัญหา ส่งผลให้กฎหมาย จริยธรรม และนโยบายยังคงตามไม่ทัน จึงทำให้เกิดช่องว่างในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเหล่านี้ และทำให้ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงยังคงประสบกับความทุกข์ทรมานอยู่


รัฐบาลทั่วโลกต้องจัดการกับ OGBV เช่นเดียวกับความรุนแรงต่อสตรีในรูปแบบอื่น ๆ โดยใช้กรอบสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่มีอยู่นำมาจัดการปัญหาดังกล่าว เพื่อให้แน่ใจว่าโลกออนไลน์เป็นพื้นที่ที่ปลอดภัย และเสรีสำหรับทุกคน


บริษัทเทคโนโลยีมีหน้าที่รับผิดชอบในการเพิ่มความโปร่งใส และความรับผิดชอบในเรื่องของ OGBV และต้องทำให้มั่นใจได้ว่าผู้หญิงสามารถรายงานการล่วงละเมิดและขอให้ลบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมได้อย่างง่ายดาย

บริษัทต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันและการกำจัดปัญหา OGBV โดยการนำเอาแนวทางการสนับสนุนสิทธิมนุษยชนมาใช้


#WeAreManushyan ♾ Equal Human Beings


มานุษยะขอยืนหยัดเคียงข้างผู้หญิงและทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงเช่นนี้ มานุษยะจะยังคงปกป้องและส่งเสริมสิทธิสตรี จนกว่าผู้หญิงทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มชายขอบจะได้รับความเท่าเทียม ปลอดภัย และปราศจากความรุนแรงทุกรูปแบบ รวมถึงความรุนแรงบนโลกออนไลน์ด้วย


👉 ขอเชิญชวนเรียนรู้เพิ่มเติ่มเกี่ยวกับงานด้านสิทธิดิจิทัลของมานุษยะในการส่งเสริมให้อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยในภูมิภาคเอเชียใต้และต่อสู้กับเผด็จการดิจิทัล




อ้างอิง:

  1. UN Women, Accelerating Efforts to Tackle Online and Technology Facilitate Violence Against Women and Girls (VAWG), (2022), available at: https://www.unwomen.org/en/digital-library/publications/2022/10/accelerating-efforts-to-tackle-online-and-technology-facilitated-violence-against-women-and-girls

  2. UN Women, Frequently asked questions: Tech-facilitated gender-based violence, available at: https://www.unwomen.org/en/what-we-do/ending-violence-against-women/faqs/tech-facilitated-gender-based-violence

  3. OHCHR, Gender-based violence against women and girls, https://www.ohchr.org/en/women/gender-based-violence-against-women-and-girls

  4. Council of Europe, Cyberviolence against women, available at: https://www.coe.int/en/web/cyberviolence/cyberviolence-against-women

  5. ICNL, Online Gender-Based Violence in the Indo-Pacific And Its Impact On The Civic Freedoms of Women Human Rights Defenders, (March 2023), available at: https://www.icnl.org/post/report/online-gender-based-violence-in-the-indo-pacific



bottom of page