top of page
Writer's pictureManushya Foundation

เอมิลี่เรียกร้องให้ #หยุดการครอบงำอำนาจของภาคธุรกิจ #หยุดการฟ้องคดีปิดปาก ที่ #UNForumBHR 2022












#หยุดการครอบงำอำนาจของภาคธุรกิจ

📢 เอมิลี่ ประดิจิต ได้ประนามการครอบงำอำนาจของภาคธุรกิจ และเรียกร้องให้มีการออกกฎหมายป้องกันการฟ้องปิดปากที่ #UNForumBHR 2022


#ธุรกิจและสิทธิมนุษยชน 📢 เอมิลี่ ประดิจิต ผู้ก่อตั้งและผู้อำนายการมูลนิธิมานุษยะ ได้มีโอกาสในการเข้าแถลงการณ์ในการประชุมเรื่อง “การป้องกัน ‘อำนาจครอบงำของภาคธุรกิจ’: การมีส่วนร่วมในกฎข้อบังคับ และนโยบายที่ทำให้เกิดการรับผิดชอบจริง” ในงานประชุมระดับโลกว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนครั้งที่11 ณ กรุงเจนีวา


🗣️ ในระหว่างที่เธอได้ให้คำอภิปรายอย่างหนักแน่น เอมิลี่ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการครอบงำอำนาจของภาคธุรกิจและการที่บริษัทต่าง ๆ เข้าแทรกแซงในกระบวนการยุติธรรมและการออกกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของบริษัทเอง นำไปสู่การทำร้ายชีวิตผู้คนและสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน


เอมิลี่ได้ยกตัวอย่างข้อบ่งชี้อย่างชัดเจนของการครอบงำอำนาจของภาคธุรกิจในประเทศไทย:

🛑 การเอาเปรียบชุมชน ในอ.เทพา จ.สงขลา โดยกฟผ. (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) ที่ได้วางแผนในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ซึ่งจะทำลายวิถีการดำรงชีวิตของชุมชนและสิ่งแวดล้อม! ชุมชนท้องถิ่นในเทพาไม่ได้ถูกขอคำปรึกษาอย่างแท้จริงเกี่ยวกับผลกระทบแง่ลบของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ผู้ที่ได้รับผลกระทบไม่ได้รับข้อมูลที่เพียงพอ และมีการอธิบายเฉพาะข้อดีของการก่อสร้างโรงงานเท่านั้น เช่น จะช่วยสร้างงานสร้างอาชีพให้ชาวบ้าน ที่แย่ไปกว่านั้น รายชื่อผู้เข้าร่วมการปรึกษาหารือถูกนำไปใช้เป็นความยินยอมในการก่อสร้างอย่างไม่ถูกต้อง

🛑 การแทรกแซงของอำนาจในทางตุลาการ ซึ่งชุมชนได้เผชิญจากกรณี #JusticeForPhichit ณ ขณะนี้ยังคงรอคอยความยุติธรรมและการชดเชยอย่างเป็นธรรมสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากบริษัทเหมืองทองมากว่า 20 ปี หลังจากที่บริษัทเหมืองทอง อัครา รีซอร์สเซส ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Kingsgate ในออสเตรเลียได้เริ่มดำเนินกิจการในจ.เพชรบูรณ์ และจ.พิจิต ในปี 2544 ชุมชนที่อาศัยอยู่ที่นั่นมาหลายชั่วอายุคนได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของบริษัท ชาวบ้านกว่า 300 คนยื่นฟ้องคดีกับบริษัทอัครา รีซอร์สเซส เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมและการชดเชยที่เป็นธรรมสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่น การสูญเสียวิถีชีวิตการดำรงอยู่ การปนเปื้อนสารพิษของน้ำส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพวกเขา และมลพิษที่ทำลายสิ่งแวดล้อม

🚨 ความยุติธรรมที่ล่าช้าคือความยุติธรรมที่ถูกปฏิเสธ: ในขณะที่การพิจารณาของศาลยังคงเลื่อนออกไป รัฐบาลไทยได้ขยายใบอนุญาตสี่ฉบับให้บริษัท Kingsgate ในเดือนมกราคม 2565 หลังจากถูกกดดันโดยบริษัทภายใต้กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ให้เปิดเหมืองทองคำในจังหวัดพิจิตรอีกครั้ง

🛑 การแทรกแซงของอำนาจในทางนิติบัญญัติ ดังที่เห็นได้ในประเทศไทย จากกรณีโครงการฟอกเขียวของรัฐบาลเช่น โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) มีชุมชนพื้นเมืองหรือผู้ที่พึ่งพาป่าจำนวนมากยังคงอาศัยอยู่ในป่ามานานหลายทศวรรษและยังสนับสนุนการอนุรักษ์ป่าด้วยวิธีการดั้งเดิมในการเพาะปลูกในพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งโมเดล BCG นี้นั้นอนุญาตให้บรรดาบริษัทต่าง ๆ สามารถลงทุนในคาร์บอนเครดิตในนามของการ "การฟื้นฟูสภาพผืนป่า" ในขณะที่ชนเผ่าพื้นเมืองถูกทำให้กลายเป็นผู้กระทำความผิดในทางอาญาจากการที่พวกเขาดำเนินชีวิตตามวิถีดั้งเดิมของตน ทั้ง ๆ ที่พวกเขาควรถูกยกย่องว่าเป็นผู้พิทักษ์ผืนป่า!


❗️เอมิลี่ได้เปิดเผยอีกว่าการครอบงำอำนาจของภาคธุรกิจไม่ได้ปรากฏแค่ในประเทศไทยแต่เพียงเท่านั้น แม้กระทั่งสหประชาชาติเองก็ยังมีการครอบงำอำนาจของภาคธุรกิจเช่นเดียวกัน ซึ่งเห็นได้จากตัวอย่างของการเจรจาต่อรอง #สนธิสัญญาที่มีผลผูกพัน ในประเด็นธุรกิจและสิทธิมนุษยชน


"สิ่งที่เกิดขึ้นที่นี่เช่นกัน ที่องค์กรสหประชาชาติ เมื่อพูดถึงเรื่องธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ก็มีการครอบงำอำนาจของภาคธุรกิจในสหประชาชาติด้วยเช่นกัน โดยหอการค้านานาชาติ (ICC) และองค์การนายจ้างระหว่างประเทศ (IOE) พยายามอย่างเต็มที่เพื่อทำให้การเจรจาเกี่ยวกับสนธิสัญญาที่มีผลผูกพันตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนอ่อนแอลง การครอบงำอำนาจของภาคธุรกิจในสหประชาชาติต้องหยุดเสียที!"

เอมิลี่ ประดิจิต, ผู้ก่อตั้งและผู้อำนายการมูลนิธิมานุษยะ


#หยุดการฟ้องคดีปิดปาก 🗣 เอมิลี่ยังได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นอย่างยิ่งในการมีกฎหมายป้องกันการฟ้องคดีปิดปากที่มีความเป็นอิสระ เพื่อที่จะได้สามารถหลีกเลี่ยงการครอบงำอำนาจของภาคธุรกิจในทางตุลาการ เธอได้อธิบายว่ามาตรการป้องกันการฟ้องคดีปิดปากที่มีอยู่ในประเทศไทย ซึ่งถูกบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้นไม่มีประสิทธิภาพ และไม่สามารถป้องกันนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจากการถูกฟ้องคดีปิดปาก


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทยประกอบด้วยสองมาตราเพื่อให้ศาลมีมูลฐานทางกฎหมายในการยกฟ้องคดีอาญาหากเป็นคดีไม่มีมูลและนำมาซึ่งความไม่สุจริตต่อบุคคลที่ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนหรือผลประโยชน์ของสาธารณะ


1️⃣ ส่วนแรก มาตรา 161/1 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้อำนาจศาลไทยในการยกฟ้องคดี หากบริษัทฟ้องคดีโดยไม่สุจริต อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง ศาลไม่ได้รู้สึกว่ามีอำนาจในการยกฟ้องคดี เพราะมีการครอบงำของภาคธุรกิจในการควบคุมอำนาจทางตุลาการ


2️⃣ ส่วนที่สอง มาตรา 165/2 ได้ให้อำนาจแก่จำเลยในการเลือกที่จะแถลงพยานหลักฐานเพิ่มเติมแก่ศาล เพื่อเป็นการสนับสนุนว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีไม่มีมูล ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ ภาระการพิสูจน์อยู่ที่จำเลย นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมักจะมีความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากร เงินทุน และข้อมูลอย่างจำกัด ทำให้ยากต่อการจัดหาหลักฐานที่จำเป็นเพื่อแจ้งคดี แล้วเราจะคาดหวังให้พวกเขาเป็นทนายของตนเองได้อย่างไร?


"มาตรการต่อต้าน SLAPP ที่รัฐบาลไทยยกย่องตัวเองนั้นดูดีแค่เพียงบนกระดาษ แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถดำเนินการได้และยังไม่เพียงพอ แม้ว่าศาลจะได้รับอำนาจในการยกฟ้องคดี SLAPP แต่เมื่อธุรกิจต่าง ๆ กระทำการโดยไม่สุจริตอย่างชัดเจน ผู้พิพากษากลับไม่ทำเช่นนั้นเพราะการแทรกแซงอำนาจของภาคธุรกิจในทางตุลาการ"

เอมิลี่ ประดิจิต, ผู้ก่อตั้งและผู้อำนายการมูลนิธิมานุษยะ


🎥 ดูวิดีโอตัวเต็มได้ที่นี่ 👇


#WeAreManusyhan - Equal Human Beings


🔗 อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรณรงค์ของเราในระหว่างงานประชุมระดับโลกว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนครั้งที่ 11 ณ กรุงเจนีวา #UNForumBHR และการต่อสู้ของเราในการเรียกร้อง #ความรับผิดชอบของภาคธุรกิจ และ #หยุดการฟ้องคดีปิดปาก:

  • #หยุดSLAPP: นาดาเรียกร้องให้มีมาตรการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในงานประชุม #UNForumBHR 2022!

  • #ความรับผิดชอบของภาคธุรกิจ: มูลนิธิมานุษยะตอบโต้กลับต่ออำนาจครอบงำของภาคธุรกิจที่ส่งผลให้เกิดการแทรกแซงและละเมิดสิทธิมนุษยชน ในงานประชุม #UNForumBHR!, 9 ธันวาคม 2565

  • #หยุดNAPping: แผนปฏิบัติการธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของไทยทำลายความหวังของชุมชนซ้ำแล้วซ้ำเล่า: ถึงเวลา #หยุดNAPping, 2 พฤศจิกายน 2565

  • #SaveNada: ทำไมเราต้องเรียกร้องความเป็นธรรมให้ นาดา ไชยจิตต์ ต่อองค์การสหประชาชาติ?, 11 ตุลาคม 2565

  • #หยุด-NAPping: แผน NAP-BHR คืออะไร ทำไมเราถึงไม่ต้องการแผนนี้, 7 ตุลาคม 2565

  • มูลนิธิมานุษยะในงาน #RBHRF2022 มาดูไฮไลต์ของงานกัน!, 28 กันยายน 2565

  • #CorporateAccountability #AsiaWakeUp: เราต้องการสนธิสัญญาทางกฎหมายที่รับประกันได้ว่าภาคธุรกิจจะบังคับใช้การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน!, 20 กันยายน 2565



Comments


bottom of page