top of page
  • Writer's pictureManushya Foundation

การทำเหมืองมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการเปลี่ยนผ่านอย่างยุติธรรมอย่างไร?



รายงานฉบับใหม่ล่าสุดของเราได้นำเสนอ "เงื่อนไขที่ส่งเสริม" 5 ประการของกระบวนการเปลี่ยนผ่านอย่างยุติธรรมที่อ้างอิงสิทธิในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพูดถึงภาคอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ ดูรายงานได้ทันทีที่นี้ หรือดูประเด็นที่สำคัญที่สุดด้านล่างนี้!



คุณจะยังคงจดจำกรณีชาวบ้านซับหวายจากอุทยานแห่งชาติไทรทองหรือชาวบ้านบางกลอยที่อาศัยอยู่ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้ ทั้งชุมชนนี้และชุมชนอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วนทั่วประเทศไทย กลายเป็นเหนื่อของแผนของรัฐบาลในการบรรลุเป้าหมายสภาพภูมิอากาศด้วยการปลูกป่า แทนที่จะเลือกที่จะยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล รัฐบาลยังคงต่อสู้กับชุมชนป่าไม้และชนเผ่าพื้นเมืองที่ถูกละเลยมากที่สุด โดยปล่อยให้ผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ต้องสร้างรายได้ต่อไป


คุณอาจจำชาวเมืองพิจิตรจากแคมเปญ #JusticeForPhichit ของเราที่ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมมานานกว่ายี่สิบปี หลังจากที่ดิน น้ำ สุขภาพ และความเป็นอยู่ของพวกเขาถูกทำลายโดยการดำเนินกิจกรรมของเหมืองทอง เหมืองแห่งนี้ถูกปิดในปี 2559 แต่พวกเขายังคงรอการชดเชยและประกันว่าชีวิตของพวกเขา และหวังว่าจะไม่ถูกคุกคามอีก แต่ภายใต้สถานการณ์ที่น่าสงสัย รัฐบาลได้เปิดเหมืองอีกครั้งในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2566 และด้วยเหตุนี้ จึงเป็นประตูสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนครั้งใหม่ ติดตามข่าวและโซเชียลมีเดียของเราเพื่อรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับกรณีจังหวัดพิจิตรนี้


bottom of page