“ข้อมูลที่ผิด” กับ “ข้อมูลที่บิดเบือน” อะไรคือความแตกต่าง? และทำไมมันถึงสำคัญ?
คุณทราบความแตกต่างระหว่าง “ข้อมูลที่ผิด” และ “ข้อมูลที่บิดเบือน” หรือไม่? และทำไมมันถึงสำคัญ?
ในยุคแห่งโลกดิจิทัลที่ข้อมูลหลั่งไหลราวกับสายน้ำที่ไหลเชี่ยว
ความแตกต่างระหว่าง "ข้อมูลที่ผิด" และ "ข้อมูลที่บิดเบือน" ถือเป็นกุญแจสำคัญในการปกป้องแก่นแท้ของความจริงและความเป็นประชาธิปไตย
โดยความแตกต่างที่สำคัญระหว่างข้อมูลที่ผิดและข้อมูลที่บิดเบือนจะขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้กระทำ
ข้อมูลที่ผิดและข้อมูลที่บิดเบือน : สองแนวคิดที่แตกต่างกัน
แม้ว่าแนวคิดเหล่านี้อาจดูเหมือนคล้ายกัน แต่ในความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้น การแยกแยะข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นสิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจว่า เหตุใดการปกป้องสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกทางออนไลน์จึงเป็นสิ่งสำคัญในการปกป้องประชาธิปไตย
ตามที่ António Guterres เลขาธิการสหประชาชาติอธิบายไว้ ความแตกต่างหลักอยู่ที่เจตนาของผู้กระทำความผิด ข้อมูลเท็จเป็นการกลั่นแกล้งที่ไม่เป็นอันตรายจริงหรือ? หรือเป็นวิธีการควบคุมข้อมูลในทางที่ผิด?
ในปี 2564 Irene Khan ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติด้านเสรีภาพในการแสดงออก
ได้ให้คำจำกัดความที่ชัดเจนของสองข้อมูลนี้ซึ่งไม่สามารถใช้แทนกันได้ โดย “ข้อมูลบิดเบือน” หมายถึง ข้อมูลเท็จที่เผยแพร่โดยเจตนาเพื่อก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสังคม ตรงกันข้ามกับ “ข้อมูลที่ผิด” คือ การเผยแพร่ข้อมูลเท็จโดยไม่รู้ตัว
อธิบายอย่างง่าย :
ข้อมูลที่ผิด คือข้อมูลเท็จ หรือข้อมูลที่ไม่ถูกต้องที่เผยแพร่โดยไม่ได้มีเจตนาที่จะหลอกลวงหรือทำร้าย อาจเป็นผลมาจากความเข้าใจผิด การตีความผิด หรือข้อผิดพลาด เช่น ข่าวลือทางสื่อสังคมออนไลน์ ความผิดพลาดอย่างแท้จริง หรือข้อมูลที่ล้าสมัย
ข้อมูลที่บิดเบือน คือข้อมูลเท็จที่จงใจทำให้เข้าใจผิดซึ่งแพร่กระจายโดยมีเจตนาที่จะหลอกลวงหรือบิดเบือน จุดประสงค์เพื่อเจาะจงที่จะทำร้ายผู้อื่นผ่านข่าวปลอม การโฆษณาชวนเชื่อ และการปลุกปั่นทางการเมือง
เหตุใดการเข้าใจความแตกต่างของสองข้อมูลนี้จึงมีความสำคัญอย่างมาก
ในโลกที่เชื่อมโยงกันด้วยสื่อสังคมออนไลน์และแพลตฟอร์มดิจิทัล ผลกระทบที่ตามมาของการทำให้เส้นแบ่งระหว่างข้อมูลที่ผิดกับข้อมูลที่บิดเบือนนั้นพร่ามัว เป็นเรื่องที่น่าตกใจ
ตั้งแต่การกำหนดรูปแบบการเลือกตั้ง ไปจนถึงการจุดชนวนความไม่สงบในสังคม ผลกระทบของการหลอกลวงโดยเจตนาต่อสังคมของเรานั้น เป็นเรื่องที่ไม่อาจปฏิเสธได้และน่าวิตกกังวล
ในปี 2022 António Guterres เลขาธิการสหประชาชาติยังเน้นย้ำว่าข้อมูลที่บิดเบือนได้กลายเป็นอาวุธที่รัฐบาลเผด็จการใช้เพื่อทำลายบุคคลที่เห็นต่างและกดขี่สิทธิและเสรีภาพ
จากหลักฐานในประเทศพม่า ไทย และลาวข้อมูลเท็จที่รัฐสนับสนุน สร้างความเสียหายอย่างมากต่อสิทธิมนุษยชนและส่งผลร้ายแรงต่อระบอบประชาธิปไตย โดยรัฐบาลเผด็จการพยายามกีดกันผู้เห็นต่างในขณะที่กุมอำนาจ!
กรณีศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประเทศพม่า : การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญาโดยการปลุกปั่นบน Facebook
กรณีของประเทศพม่าเป็นเรื่องราวเตือนใจเกี่ยวกับข้อมูลบิดเบือนทางออนไลน์ โดยเฉพาะบน Facebook ที่นำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญา ตามที่ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกได้เน้นย้ำไว้ว่า “ข้อมูลที่บิดเบือนจากบุคคลที่ระบุตัวตน กระตุ้นให้เกิดการเลือกปฏิบัติและความเกลียดชัง ต่อชนกลุ่มน้อย ผู้อพยพ และชุมชนชายขอบอื่น ๆ ที่สร้างความตึงเครียดทางชาติพันธุ์ หรือศาสนา ซึ่งบางครั้งลุกลามไปสู่ความรุนแรงบนโลกออฟไลน์” ตามความเป็นจริง กองทัพประเทศพม่า เตรียมการรณรงค์อย่างเป็นระบบโดยมุ่งเป้าไปที่ชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญา โดยใช้บัญชีปลอมและเผยแพร่ข่าวปลอมเต็มหน้า Facebook เป็นเวลากว่าครึ่งทศวรรษ
ไทยและลาว : ข้อมูลเท็จที่กระทำต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนสตรีโดยรัฐบาล
การให้ข้อมูลเท็จที่กระทำโดยรัฐและการรณรงค์ใส่ร้ายป้ายสีทางออนไลน์ต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนสตรี ยังถูกกระทำโดยรัฐบาลเผด็จการปิตาธิปไตยในไทยและลาว เพื่อปิดปากพวกเขาที่พูดความจริงต่ออำนาจอิทธิพล
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย รัฐบาลสนับสนุนข้อมูลที่บิดเบือน เพื่อใส่ร้ายนักปกป้องสิทธิมนุษยชนสตรี อังคณา นีละไพจิตร และอัญชนา หีมมิหน๊ะ
เป็นการกระทำที่เป็นส่วนหนึ่งของ ยุทธการทางข้อมูลข่าวสาร (IO)
ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)
เครือข่ายที่ประสานงานของบัญชีสื่อออนไลน์ที่เชื่อมโยงกับกองทัพ ได้แพร่กระจายการหลอกลวงบน Facebook และ pulony.blogspot.com ซึ่งคุกคามงานที่สำคัญของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนสตรี ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 ศาลแพ่งกรุงเทพได้ทำการไต่สวนสำหรับคดีที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนสตรี 2 คนได้ฟ้องร้องกับรัฐบาล พวกเขาได้กล่าวว่า กอ.รมน. ฝ่าฝืนระเบียบการปฏิบัติราชการ โดยการเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือนเพื่อชี้นำและบงการความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพวกเขา อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 ศาลได้พิพากษายกฟ้องโดยอ้างว่าหลักฐานไม่เพียงพอที่จะเชื่อมโยงกับ กอ.รมน. ในการเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือน
ในประเทศลาว นักปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่น Emilie Palamy Pradichit ผู้ก่อตั้งและกรรมการบริหารมูลนิธิมนุษยะ
เป็นเป้าหมายในการบิดเบือนข้อมูลของรัฐบาลลาว ในปี พ.ศ. 2563-2564 เธอถูกกล่าวหาว่าได้เปิดเพจ Facebook เพื่อต่อต้านรัฐ 'Sivid Nor' และจัดหาเยาวชนลาวมายังไทยและส่งพวกเขากลับบ้านพร้อมกับเชื้อโควิด ข้อมูลที่บิดเบือนถูกแพร่กระจายอย่างกว้างขวางในเพจ Facebook ที่ถูกควบคุมโดยรัฐ
การเรียกร้องของเรา!
✊🏼 ในยุคข้อมูลที่บิดเบือนแพร่หลาย การต่อสู้เพื่อความจริงกลายเป็นการต่อสู้เพื่ออิสรภาพ!
ความจริงเป็นรากฐานที่สำคัญของสังคมที่มีข้อมูลที่ถูกต้อง ทำให้เรามีอำนาจในการตัดสินใจอย่างรอบรู้ กำหนดความคิดเห็นของเรา และทำให้ผู้มีอำนาจต้องรับผิดชอบต่อข้อมูล แต่ในยุคที่ข้อมูลมากมายและแพร่หลายอย่างรวดเร็ว
การแยกแยะความจริงจากเรื่องแต่งที่เป็นอันตรายกลายเป็นความท้าทายที่น่ากลัว
#UnmaskingDisinformation 🗣️ นั่นคือเหตุผลที่มนุษยะเราให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ เราเชื่อว่าระบอบประชาธิปไตยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากที่ใช้ข้อมูลเท็จ ซึ่งเป็นสาเหตุที่เรากำลังสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความแตกต่างของข้อมูลที่สำคัญมากนี้! เรามุ่งมั่นที่จะปกป้องทั้งประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนด้วยการส่งเสริมพื้นที่ดิจิทัลออนไลน์ที่ปลอดภัย ปราศจากเรื่องเล่าที่หลอกลวง
🤝 มาร่วมกันทำงานเพื่อให้แน่ใจว่ามีการเข้าถึงข้อมูลที่แท้จริงและเชื่อถือได้เพื่อปกป้องประชาธิปไตย
เข้าร่วมกับเราในการต่อสู้เพื่อข้อมูลที่เป็นจริงและเข้าถึงได้!
#WeAreManushyan ♾ มนุษย์เท่าเทียมกัน
คุณสามารถช่วยได้อย่างไร?
👉 แบ่งปันบล็อกของเราและเผยแพร่การรับรู้: ให้ความรู้แก่ผู้อื่นเกี่ยวกับอันตรายของการบิดเบือนข้อมูลและความสำคัญของข้อมูลที่เชื่อถือได้
👉ตรวจสอบแหล่งที่มา: ตรวจสอบข้อมูลก่อนแชร์ รับรองความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ
👉รายงานข้อมูลที่ผิด: ระมัดระวังและรายงานข้อมูลที่ผิดบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเพื่อป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ
อ้างอิง :
New York Times, “A genocide incited on Facebook, With Posts from Myanmar’s military”, (15 October 2018), available at: https://www.nytimes.com/2018/10/15/technology/myanmar-facebook-genocide.html
New York Times, “Facebook Admits It Was Used to Incite Violence in Myanmar”, (6 November 2018), available at: https://www-nytimes-com.ezpaarse.univ-paris1.fr/2018/11/06/technology/myanmar-facebook.html?searchResultPosition=4
United Nations Human Rights Council, A/HRC/47/25, "Disinformation and freedom of opinion and expression", Report of the Special Rapporteur on the promotion and protection of the right to freedom of opinion and expression, Irene Khan, (13 April 2021), available at: https://www.undocs.org/Home/Mobile?FinalSymbol=A%2FHRC%2F47%2F25&Language=E&DeviceType=Desktop&LangRequested=False
Facebook Page, Sivid Nor, available at: https://www.facebook.com/sivid.nor.1
Facebook post, available at: https://www.facebook.com/104729200917628/posts/551123132944897/?d=n
Reel image available at: https://www.theguardian.com/technology/2021/dec/06/rohingya-sue-facebook-myanmar-genocide-us-uk-legal-action-social-media-violence
Reel image available at: https://www.reuters.com/investigates/special-report/myanmar-facebook-hate/
Reel image available at: https://ipi.media/thailands-military-government-tightens-grip-on-media/
ก่อนจะกดออก.. เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวงานของเราเกี่ยวกับสิทธิดิจิทัล และการประณามข้อมูลที่บิดเบือนจากรัฐ ⤵️
#StopDigitalDictatorship, Campaign in Southeast Asia to fight against rising digital dictatorship in the region.
🔊Highlights From Our #RightsCon2023 Session, June 9, 2023
Freedom on the Net 2022: Internet Freedom Remained Under Threat in Thailand, October 19, 2022
Joint Submission to the United Nations High Commissioner for Human Rights ‘The Right to Privacy in the Digital Age: Mass surveillance, Digital Contact-tracing, Social Media Monitoring, and Data Requests in Southeast Asia’, June 2022
Joint Submission to the United Nations High Commissioner for Human Rights: Human Rights Due Diligence, Tech Sector Responsibilities and Business Transparency, February 2022
Joint Submission to the United Nations Special Rapporteur on thePromotion and Protection of the Right to Freedom of Opinion and Expression: Freedom, Independence, Diversity of Media and the Safety of Journalists in Southeast Asia, January 2022
Thailand UPR III Factsheet on Digital Rights, September 9, 2021
#SaveYok 🇹🇭This Youth activist is determined to restore Thai students’ freedom, July 28 2023
Muay denounced how the Lao government failed the dam collapse survivors and got jailed in return!, July 27 2023
#YouthPowerDemocracy: ประชาธิปไตยควรไปทางไหนต่อ หลังพรรคอันดับ 1 จัดตั้งรัฐบาลไม่ได้?, July 27 2023
#SaveYok 🔴 In her own words: Yok speaks about perilous threats to her right to education, July 21, 2023
In her own words: Meet Yok- the youngest person charged with lèse-majesté in Thailand, July 18 2023
#BreakingNews 🚨 60-Year-Old Man Sentenced to 18 Years for Online Posts about the Monarchy, June 26, 2023
The defamation trial against Fatia Maulidiyanti and Haris Azhar is ongoing!, June 20, 2023
Manushya’s Exclusive Interview with Sophon “Get” Suraritthamrong from Mokeluang Rimnam activist group, May 8, 2023
Manushya’s Exclusive Interview with Kanyakorn “Jib” Suntornprugfrom United Front of Thammasat and Demonstration, May 11, 2023
Manushya’s Exclusive Interview with Netiporn "Bung" Sanesangkhom from Thaluwang group, May 3, 2023
Comments