top of page
  • Writer's pictureManushya Foundation

#FreeMuay: หมวย นักปกป้องสิทธิฯหญิงชาวลาวถูกสั่งจำคุกอย่างไม่เป็นธรรมหลังประณามการทุจริตของรัฐบาลลาว







#FreeMuay ⚖️ หมวย นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงชาวลาวได้ถูกสั่งจำคุกอย่างไม่เป็นธรรมในเดือนกันยายน 2562 เพียงเพราะเธอประณามการทุจริตของรัฐบาลลาว


🏫 หมวยต้องการที่จะสร้างโรงเรียนที่สนับสนุนการศึกษาที่เป็นธรรมและเท่าเทียม เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาการซื้อขายวุฒิการศึกษา ด้วยเหตุนี้เธอจึงได้จัดกิจกรรมระดมทุนหลายต่อหลายครั้ง


📍ในส่วนของการระดมทุน เธอได้ขายเสื้อที่เขียนข้อความว่า “ฉันไม่อยากซื้อตำแหน่งราชการ” และได้จัดคอนเสิร์ตการกุศลในแขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2561 โดยมีผู้แสดงเป็นคนในท้องถิ่น และมีผู้เข้าร่วมชมกว่าพันคน


🚨แต่โชคไม่ดี ตำรวจได้เข้ายุติคอนเสิร์ตอย่างรวดเร็วและได้เข้าจับกุมผู้คนที่สวมเสื้อที่หมวยจัดจำหน่าย และท้ายที่สุด ก็ได้สั่งห้ามไม่ให้หมวยและคนอื่น ๆ ที่เข้าร่วมคอนเสิร์ตใช้เสรีภาพในการรวมกลุ่มและชุมนุมอีกต่อไป


#WeAreManushyan ♾ มนุษย์เท่าเทียมกัน


✊มูลนิธิมานุษยะขอประณามการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมและการรวมกลุ่มของรัฐบาลลาว ประเทศลาวต้องรักษาพันธสัญญาด้านสิทธิระหว่างประเทศและทำให้แน่ใจว่าประชาชนจะได้รับสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมและการรวมกลุ่มอย่างเต็มที่! พวกเราขอยืนหยัดเคียงข้างหมวยเสมอ และขอเรียกร้องให้รัฐบาลลาวปล่อยหมวยออกจากเรือนจำและยุติการดำเนินคดีกับเธอ!


🔗อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องราวและการทำงานทางด้านสิทธิมนุษยชนของหมวย รวมถึงความพยายามของมูลนิธิมานุษยะในการเรียกร้องเพื่อปล่อยตัวเธอได้ที่: https://www.manushyafoundation.org/free-muay-from-jail-in-laos


👉 ร่วมบริจาคเพื่อช่วยเหลือครอบครัวของหมวย เพราะหมวยเป็นเสาหลักของครอบครัว หาเลี้ยงทั้งลูกสาวและพ่อแม่ที่เกษียณของเธอ คลิกที่: https://www.manushyafoundation.org/donation-page

👉 ร่วมลงชื่อในแคมเปญเรียกร้องให้ #FreeMuay ปล่อยหมวยออกจากคุก! ได้ที่: chng.it/cPNjbLGhBN

👉 แชร์โพสนี้ให้เพื่อน ๆ ของคุณได้รับรู้เพื่อประณามความอยุติธรรม!

👉 ใช้แฮชแท็ก #FreeMuay เพื่อร่วมแคมเปญและแสดงพลังสนับสนุนของคุณให้แก่หมวย ยิ่งแชร์เยอะยิ่งมีพลัง!


อย่าเพิ่งกดออก…

➡️ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับแคมเปญของมูลนิธิมานุษยะในการเรียกร้องให้ปล่อยหมวย #FreeMuay ออกจากคุก:

➡️ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลงานของมูลนิธิมานุษยะกับการเคลื่อนไหวและสถานการณ์ที่ประเทศลาว:

  • ข่าวประชาสัมพันธ์: เขื่อนน้ำเทิน 1: รัฐบาลและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องจะต้องรับผิดชอบในการประกันความปลอดภัยของชุมชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง!, 22 สิงหาคม 2565;

  • เอกสารข้อเท็จจริงโดยมูลนิธิมานุษยะ เพื่อยื่นระหว่างการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนครั้งที่ 3 ของประเทศลาว: ภาพรวมสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในสปป.ลาว - กรอบกฎหมาย ข้อกังวล กรณีศึกษา และข้อเสนอแนะจากชุมชน, มกราคม 2563;

  • แถลงการณ์ร่วม: 1 ปีหลังกรณีเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยทรุดตัวลง, ภาคประชาสังคมจากเกาหลีและแม่น้ำโขงเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมารับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นและดำเนินการแก้ไขในทันที, 23 กรกฎาคม 2562;

  • การยื่นข้อเรียกร้องร่วมกับองค์กร Asia Indigenous Peoples Pact (AIPP) ระหว่างการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนครั้งที่ 3 ของสปป.ลาว, 21 กรกฎาคม 2562;

  • ข้อเรียกร้องของมูลนิธิมานุษยะยื่นต่อผู้รายงานพิเศษเรื่องความยากจนอย่างรุนแรงและสิทธิมนุษยชนในกรณีสถานการณ์ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, มีนาคม 2562;

  • แถลงการณ์ต่อเครือข่ายภาคธุรกิจและสิทธิมนุษยชนไทยต่อกรณีการทรุดตัวของเขื่อนประเทศลาว, 20 สิงหาคม 2561;

  • ข่าวประชาสัมพันธ์: ประเทศลาวจะต้องดำเนินการสอบสวนอย่างโปร่งใสและปราศจากการแทรกแซงเพื่อประกันสิทธิว่าจะมีการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพให้แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากกรณีการทรุดตัวลงของเขื่อน – รวมถึงประเทศไทยเองก็มีหน้าที่ในการรับผิดชอบต่อความเสียหายนี้ด้วย, 20 สิงหาคม 2561.


bottom of page