top of page
  • Writer's pictureManushya Foundation

8 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับความเป็นธรรมด้านการแก้ปัญหาสภาพอากาศ












#ความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ ⚖️ รู้หรือไม่ว่าผู้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมักไม่ใช่ต้นตอผู้ก่อปัญหา?


🌳 ชนพื้นเมืองมีความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของพวกเขาและอาศัยทรัพยากรธรรมชาตินั้นเป็นแหล่งอาหารสำคัญ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่เพียงทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยและทำให้พวกเขาเสี่ยงอันตรายในการดำรงชีวิต แต่ยังขัดขวางความเชื่อมโยงของพวกเขากับสัตว์ป่า คุกคามวิถีชีวิตและการแบ่งปันความรู้ของพวกเขา ซึ่งนั่นอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตได้


♀ เนื่องจากระบบการเมืองที่รับผิดชอบต่อวิกฤตสภาพอากาศถูกครอบงำด้วยปิตาธิปไตย ผู้หญิงจึงต้องเผชิญกับผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มากกว่า การเลือกปฏิบัติทางเพศทำให้ผู้หญิงไม่มีอำนาจในกระบวนการการตัดสินใจ ทั้งที่ในหลายกรณีก็แสดงให้เห็นว่าเมื่อผู้หญิงเข้าถึงอำนาจได้อย่างเท่าเทียม พวกเขาตัดสินใจในวิธีการที่ยั่งยืนมากกว่า!


👉รัฐบาลต้องไม่เพียงดำเนินมาตรการเพื่อจัดการกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แต่ยังต้องทำให้แน่ใจว่ามาตรการเหล่านั้นไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ในความเป็นจริง ความพยายามหลายครั้งของรัฐบาลที่อ้างว่าเป็นการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสภาพอากาศมีพื้นฐานมาจากแนวคิดที่เลือกปฏิบัติ จึงทำให้ชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มคนชายขอบ เช่น ชนพื้นเมือง ถูกรัฐบาลไทยเอาเปรียบและกดขี่


#WeAreManushyan ♾ มนุษย์เท่าเทียมกัน


🌱 รัฐบาลและธุรกิจขนาดใหญ่ต้องรับผิดชอบและใช้แนวทางตามสิทธิในภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศ พวกเขาต้องดำเนินการเพื่อส่งเสริมสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ดีต่อสุขภาพ และยั่งยืน เนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals)!


✊🏻 มูลนิธิมานุษยะเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนผ่านที่ยุติธรรม เฟมินิสต์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และครอบคลุม เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยรับรองสิทธิมนุษยชนของทุกคนในการมีสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ดีต่อสุขภาพ และยั่งยืน ผู้คนและโลกต้องมาก่อนผลกำไร!


อย่าเพิ่งกดออก...

➡️ เรียนรู้เกี่ยวกับงานและความสำเร็จของมูลนิธิมานุษยะในประเด็นความเป็นธรรมด้านภูมิอากาศ:

อ้างอิง:

  1. องค์การสหประชาชาติ, A/77/549: Report of the Special Rapporteur on contemporary forms of racism, racial discrimination, xenophobia and related intolerance, E. Tendayi Achiume - Ecological crisis, climate justice and racial justice, (25 ตุลาคม 2565), อ่านที่: https://www.ohchr.org/en/documents/thematic-reports/a77549-report-special-rapporteur-contemporary-forms-racism-racial

  2. องค์การสหประชาชาติ, A/77/284: The human right to a clean, healthy and sustainable environment: a catalyst for accelerated action to achieve the Sustainable Development Goals, (10 สิงหาคม 2565), อ่านที่: https://www.ohchr.org/en/documents/thematic-reports/a77284-human-right-clean-healthy-and-sustainable-environment-catalyst

  3. องค์การสหประชาชาติ, Safe Climate: A Report of the Special Rapporteur on Human Rights and the Environment, (1 ตุลาคม 2562), อ่านที่: https://www.unep.org/resources/report/safe-climate-report-special-rapporteur-human-rights-and-environment


bottom of page