top of page
  • Writer's pictureManushya Foundation

“ข้อมูลที่ผิด” กับ “ข้อมูลที่บิดเบือน” อะไรคือความแตกต่าง? และทำไมมันถึงสำคัญ?




คุณทราบความแตกต่างระหว่าง “ข้อมูลที่ผิด” และ “ข้อมูลที่บิดเบือน” หรือไม่? และทำไมมันถึงสำคัญ?


ในยุคแห่งโลกดิจิทัลที่ข้อมูลหลั่งไหลราวกับสายน้ำที่ไหลเชี่ยว

ความแตกต่างระหว่าง "ข้อมูลที่ผิด" และ "ข้อมูลที่บิดเบือน" ถือเป็นกุญแจสำคัญในการปกป้องแก่นแท้ของความจริงและความเป็นประชาธิปไตย


โดยความแตกต่างที่สำคัญระหว่างข้อมูลที่ผิดและข้อมูลที่บิดเบือนจะขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้กระทำ



ข้อมูลที่ผิดและข้อมูลที่บิดเบือน : สองแนวคิดที่แตกต่างกัน


แม้ว่าแนวคิดเหล่านี้อาจดูเหมือนคล้ายกัน แต่ในความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้น การแยกแยะข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นสิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจว่า เหตุใดการปกป้องสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกทางออนไลน์จึงเป็นสิ่งสำคัญในการปกป้องประชาธิปไตย


ตามที่ António Guterres เลขาธิการสหประชาชาติอธิบายไว้ ความแตกต่างหลักอยู่ที่เจตนาของผู้กระทำความผิด ข้อมูลเท็จเป็นการกลั่นแกล้งที่ไม่เป็นอันตรายจริงหรือ? หรือเป็นวิธีการควบคุมข้อมูลในทางที่ผิด?

ในปี 2564 Irene Khan ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติด้านเสรีภาพในการแสดงออก

ได้ให้คำจำกัดความที่ชัดเจนของสองข้อมูลนี้ซึ่งไม่สามารถใช้แทนกันได้ โดย “ข้อมูลบิดเบือน” หมายถึง ข้อมูลเท็จที่เผยแพร่โดยเจตนาเพื่อก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสังคม ตรงกันข้ามกับ “ข้อมูลที่ผิด” คือ การเผยแพร่ข้อมูลเท็จโดยไม่รู้ตัว


อธิบายอย่างง่าย :


  • ข้อมูลที่ผิด คือข้อมูลเท็จ หรือข้อมูลที่ไม่ถูกต้องที่เผยแพร่โดยไม่ได้มีเจตนาที่จะหลอกลวงหรือทำร้าย อาจเป็นผลมาจากความเข้าใจผิด การตีความผิด หรือข้อผิดพลาด เช่น ข่าวลือทางสื่อสังคมออนไลน์ ความผิดพลาดอย่างแท้จริง หรือข้อมูลที่ล้าสมัย

  • ข้อมูลที่บิดเบือน คือข้อมูลเท็จที่จงใจทำให้เข้าใจผิดซึ่งแพร่กระจายโดยมีเจตนาที่จะหลอกลวงหรือบิดเบือน จุดประสงค์เพื่อเจาะจงที่จะทำร้ายผู้อื่นผ่านข่าวปลอม การโฆษณาชวนเชื่อ และการปลุกปั่นทางการเมือง


เหตุใดการเข้าใจความแตกต่างของสองข้อมูลนี้จึงมีความสำคัญอย่างมาก


ในโลกที่เชื่อมโยงกันด้วยสื่อสังคมออนไลน์และแพลตฟอร์มดิจิทัล ผลกระทบที่ตามมาของการทำให้เส้นแบ่งระหว่างข้อมูลที่ผิดกับข้อมูลที่บิดเบือนนั้นพร่ามัว เป็นเรื่องที่น่าตกใจ

ตั้งแต่การกำหนดรูปแบบการเลือกตั้ง ไปจนถึงการจุดชนวนความไม่สงบในสังคม ผลกระทบของการหลอกลวงโดยเจตนาต่อสังคมของเรานั้น เป็นเรื่องที่ไม่อาจปฏิเสธได้และน่าวิตกกังวล

ในปี 2022 António Guterres เลขาธิการสหประชาชาติยังเน้นย้ำว่าข้อมูลที่บิดเบือนได้กลายเป็นอาวุธที่รัฐบาลเผด็จการใช้เพื่อทำลายบุคคลที่เห็นต่างและกดขี่สิทธิและเสรีภาพ


จากหลักฐานในประเทศพม่า ไทย และลาวข้อมูลเท็จที่รัฐสนับสนุน สร้างความเสียหายอย่างมากต่อสิทธิมนุษยชนและส่งผลร้ายแรงต่อระบอบประชาธิปไตย โดยรัฐบาลเผด็จการพยายามกีดกันผู้เห็นต่างในขณะที่กุมอำนาจ!


กรณีศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ประเทศพม่า : การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญาโดยการปลุกปั่นบน Facebook


กรณีของประเทศพม่าเป็นเรื่องราวเตือนใจเกี่ยวกับข้อมูลบิดเบือนทางออนไลน์ โดยเฉพาะบน Facebook ที่นำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญา ตามที่ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกได้เน้นย้ำไว้ว่า “ข้อมูลที่บิดเบือนจากบุคคลที่ระบุตัวตน กระตุ้นให้เกิดการเลือกปฏิบัติและความเกลียดชัง ต่อชนกลุ่มน้อย ผู้อพยพ และชุมชนชายขอบอื่น ๆ ที่สร้างความตึงเครียดทางชาติพันธุ์ หรือศาสนา ซึ่งบางครั้งลุกลามไปสู่ความรุนแรงบนโลกออฟไลน์” ตามความเป็นจริง กองทัพประเทศพม่า เตรียมการรณรงค์อย่างเป็นระบบโดยมุ่งเป้าไปที่ชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญา โดยใช้บัญชีปลอมและเผยแพร่ข่าวปลอมเต็มหน้า Facebook เป็นเวลากว่าครึ่งทศวรรษ


ไทยและลาว : ข้อมูลเท็จที่กระทำต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนสตรีโดยรัฐบาล


การให้ข้อมูลเท็จที่กระทำโดยรัฐและการรณรงค์ใส่ร้ายป้ายสีทางออนไลน์ต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนสตรี ยังถูกกระทำโดยรัฐบาลเผด็จการปิตาธิปไตยในไทยและลาว เพื่อปิดปากพวกเขาที่พูดความจริงต่ออำนาจอิทธิพล


ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย รัฐบาลสนับสนุนข้อมูลที่บิดเบือน เพื่อใส่ร้ายนักปกป้องสิทธิมนุษยชนสตรี อังคณา นีละไพจิตร และอัญชนา หีมมิหน๊ะ

เป็นการกระทำที่เป็นส่วนหนึ่งของ ยุทธการทางข้อมูลข่าวสาร (IO)

ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)

เครือข่ายที่ประสานงานของบัญชีสื่อออนไลน์ที่เชื่อมโยงกับกองทัพ ได้แพร่กระจายการหลอกลวงบน Facebook และ pulony.blogspot.com ซึ่งคุกคามงานที่สำคัญของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนสตรี ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 ศาลแพ่งกรุงเทพได้ทำการไต่สวนสำหรับคดีที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนสตรี 2 คนได้ฟ้องร้องกับรัฐบาล พวกเขาได้กล่าวว่า กอ.รมน. ฝ่าฝืนระเบียบการปฏิบัติราชการ โดยการเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือนเพื่อชี้นำและบงการความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพวกเขา อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 ศาลได้พิพากษายกฟ้องโดยอ้างว่าหลักฐานไม่เพียงพอที่จะเชื่อมโยงกับ กอ.รมน. ในการเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือน


ในประเทศลาว นักปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่น Emilie Palamy Pradichit ผู้ก่อตั้งและกรรมการบริหารมูลนิธิมนุษยะ

เป็นเป้าหมายในการบิดเบือนข้อมูลของรัฐบาลลาว ในปี พ.ศ. 2563-2564 เธอถูกกล่าวหาว่าได้เปิดเพจ Facebook เพื่อต่อต้านรัฐ 'Sivid Nor' และจัดหาเยาวชนลาวมายังไทยและส่งพวกเขากลับบ้านพร้อมกับเชื้อโควิด ข้อมูลที่บิดเบือนถูกแพร่กระจายอย่างกว้างขวางในเพจ Facebook ที่ถูกควบคุมโดยรัฐ


การเรียกร้องของเรา!


✊🏼 ในยุคข้อมูลที่บิดเบือนแพร่หลาย การต่อสู้เพื่อความจริงกลายเป็นการต่อสู้เพื่ออิสรภาพ!


ความจริงเป็นรากฐานที่สำคัญของสังคมที่มีข้อมูลที่ถูกต้อง ทำให้เรามีอำนาจในการตัดสินใจอย่างรอบรู้ กำหนดความคิดเห็นของเรา และทำให้ผู้มีอำนาจต้องรับผิดชอบต่อข้อมูล แต่ในยุคที่ข้อมูลมากมายและแพร่หลายอย่างรวดเร็ว

การแยกแยะความจริงจากเรื่องแต่งที่เป็นอันตรายกลายเป็นความท้าทายที่น่ากลัว


#UnmaskingDisinformation 🗣️ นั่นคือเหตุผลที่มนุษยะเราให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ เราเชื่อว่าระบอบประชาธิปไตยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากที่ใช้ข้อมูลเท็จ ซึ่งเป็นสาเหตุที่เรากำลังสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความแตกต่างของข้อมูลที่สำคัญมากนี้! เรามุ่งมั่นที่จะปกป้องทั้งประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนด้วยการส่งเสริมพื้นที่ดิจิทัลออนไลน์ที่ปลอดภัย ปราศจากเรื่องเล่าที่หลอกลวง


🤝 มาร่วมกันทำงานเพื่อให้แน่ใจว่ามีการเข้าถึงข้อมูลที่แท้จริงและเชื่อถือได้เพื่อปกป้องประชาธิปไตย


เข้าร่วมกับเราในการต่อสู้เพื่อข้อมูลที่เป็นจริงและเข้าถึงได้!


#WeAreManushyan ♾ มนุษย์เท่าเทียมกัน


คุณสามารถช่วยได้อย่างไร?


👉 แบ่งปันบล็อกของเราและเผยแพร่การรับรู้: ให้ความรู้แก่ผู้อื่นเกี่ยวกับอันตรายของการบิดเบือนข้อมูลและความสำคัญของข้อมูลที่เชื่อถือได้

👉ตรวจสอบแหล่งที่มา: ตรวจสอบข้อมูลก่อนแชร์ รับรองความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ

👉รายงานข้อมูลที่ผิด: ระมัดระวังและรายงานข้อมูลที่ผิดบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเพื่อป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ


อ้างอิง :


ก่อนจะกดออก.. เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวงานของเราเกี่ยวกับสิทธิดิจิทัล และการประณามข้อมูลที่บิดเบือนจากรัฐ ⤵️



bottom of page